ความเห็น: 0
อันตรายจากสารกันบูด
อาหารที่เราๆ ทานกันมีสารกันบูด กันหรือไม่
อาหารที่มักมีสารกันบูดเพื่อยืดอายุการบริโภค ได้แก่ อาหารที่มีปริมาณน้ำอิสระ (water activity) สูง เช่น ผลิตภัณฑ์จากแป้ง ไม่ว่าจะเป็นเส้นก๋วยเตี๋ยว โดยเฉพาะเส้นสด เช่น เส้นเล็กและเส้นใหญ่ ขนมจีน วุ้นเส้น ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่บางชนิด ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ ทั้งลูกชิ้น หมูยอ ไส้กรอก ผลิตภัณฑ์จากผักผลไม้ เช่น ผักผลไม้ดอง พริกแกง เครื่องดื่มบางชนิด เป็นต้น
หากจะกล่าวว่ากว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของอาหารที่จำหน่ายในท้องตลาดทั้งชนิดสด แห้ง หรือบรรจุกระป๋อง ล้วนผ่านกระบวนการป้องกัน หรือชะลอการเน่าเสียมาแล้วทั้งสิ้นก็ย่อมได้ แต่ใช่ว่าหมูยอทุกยี่ห้อจะมีสารกันบูด ไม่ได้หมายความว่าเส้นก๋วยเตี๋ยวทุกเจ้าจะปนเปื้อนสารเคมี หรือแม้แต่อาหารทุกกระป๋องก็ไม่ได้มีวัตถุกันเสีย เพราะในผู้ผลิตรายใหญ่ที่มีขั้นตอนการผลิต ฆ่าเชื้อและบรรจุภัณฑ์สะอาดได้มาตรฐานก่อนถึงมือผู้บริโภคก็ไม่จำเป็นต้อง ใช้สารกันบูดเพื่อยืดอายุอาหารแต่อย่างใด
อันตรายจากสารกันบูด
สารกันบูดแต่ละชนิดที่อนุญาตให้ใส่ในอาหารมีความปลอดภัยระดับหนึ่ง เนื่องจากผ่านการทดสอบทางด้านพิษวิทยาและการประเมินความปลอดภัยแล้ว แต่ก็ไม่สามารถแน่ใจได้ว่าอาหารที่คุณซื้อใส่สารกันบูดในปริมาณที่ถูกต้อง และเหมาะสมกับชนิดอาหาร แม้สารกันบูดบางชนิดจะระเหยได้เมื่อผ่านความร้อน แต่การบริโภคอาหารที่มีสารกันบูดเป็นประจำอาจส่งผลให้ร่างกายขับออกไม่ทัน กลายเป็นสารพิษตกค้างสะสมและนำมาซึ่งความเจ็บป่วยได้
พิษเฉียบพลัน คือ กรณีที่ได้รับสารกันบูดปริมาณมากเข้าสู่ร่างกาย เช่น การได้รับกรดเบนโซอิกจากเส้นก๋วยเตี๋ยวในปริมาณสูง อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองระบบทางเดินอาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย วิงเวียน และปวดศีรษะได้ หรือการบริโภคอาหารที่มีปริมาณไนเตรตไนไตรท์สูงมาก อาจทำให้เกิดภาวะเม็ดเลือดแดงช็อกเฉียบพลัน (methemoglobin) คือ โมเลกุลของฮีมหรือสารสีแดงในเม็ดเลือดไม่สามารถจับกับออกซิเจนได้ ทำให้ไม่มีออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ จนทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ หายใจไม่ออก ตัวเขียว เป็นลม และหมดสติได้ในที่สุด อาการนี้จะอันตรายมากหากเกิดในเด็ก หญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่มีภาวะซีดหรือมีโรคเลือด
พิษกึ่งเรื้อรังและพิษเรื้อรัง เกิดจากการบริโภคอาหารที่มีสารกันบูดในปริมาณไม่สูงสะสมต่อเนื่องเป็นเวลา นาน ตามปกติหากได้รับสารกันบูดในปริมาณไม่สูง ร่างกายสามารถขับออกเองได้ แต่ถ้าได้รับทีละน้อยแต่ยาวนานอาจก่อให้เกิดพิษเรื้อรัง นอกจากนี้วัตถุกันเสียบางชนิด เช่น กลุ่มของไนเตรตไนไตรต์ สามารถทำปฏิกิริยากับสารประกอบเอมีนและเอไมด์ในเนื้อสัตว์หรือเนื้อปลาใน สภาวะที่มีความเป็นกรดเหมาะสม เช่น ภายในกระเพาะอาหาร ก่อให้เกิดสารประกอบไนโตรโซ ซึ่งหลายชนิดจัดเป็นสารก่อมะเร็ง
สุขภาพหาใหม่ไม่ได้น่ะค่ะ
ขอบคุณข้อมูลดีๆ จากศูนย์วิทยบริการ
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « จูจู๊บ.......จู๊บ จู๊บ
- ใหม่กว่า » สมุนไพรทานาคา
ร่วมแสดงความเห็นในหน้านี้