ความเห็น: 6
ยาง: ถึงเวลาตั้งโรงงานยางรถยนต์ ไทยแบรนด์
ขณะนี้เรื่องยางพารากำลังฮอต
ความจริงเรื่องนี้ก็อยู่ในความสนใจมาตลอด ตั้งแต่อยู่ ม.อ. ก็เคยมองแคบ ๆ ใกล้ ๆ ว่ายางทำอะไรได้บ้าง บางครั้งถึงกลับไปฝัน(จริงๆ) ว่าได้ตั้งโรงงานผลิต โอริง ยางซีลต่าง ๆ แถว ๆ คลองแงะ .. พอตื่นก็คิดได้ว่า ตลาดโอริงมันจะใหญ่ขนาด 1 ตันต่อปีได้จริงหรือ
ดีใจที่เห็น ดร.วิริยะ สมัยกลับจากนอกใหม่ ๆ (ปี ๒๕๓๐ กว่า ๆ มั้ง) มาจับงานวิจัยและสาธิตการทำโฟมยางให้ดูกัน จนต่อยอดไปอีกในวันนี้ ตามข่าว ย้อนดู "ยางแปรรูป" เพิ่มมูลค่าจากงานวิจัยไทย
ซึ่งถ้าไม่ดูตัวเลขกำลังการผลิตยางของไทยที่อยู่ในระดับ 4 ล้านตันต่อปี ก็คงดีใจกับข่าว “จักรมณฑ์” เปิดโรงงานผลิตยางล้อรถบรรทุกแบรนด์ไทย มูลค่ากว่า 3,500 ล้านบาท ที่ใช้ยางได้แค่ 2 แสนจาก 4 ล้านตันต่อปี หรือแค่ 4.8% เท่านั้น
ตั้งโรงงานผลิตยางรถยนต์ "ไทยแบรนด์" กันเถอะ ใช้ตังไม่มากแค่ "สองหมื่น" เอง ค่าโรงงานซัก "หมื่นห้า" และ หน่วยอาร์แอนด์ดี อีก "ห้าพัน" คิดว่าไปโลด ทั้งนี้ได้ตัวเลขมาจาก การตั้งโรงงานใหม่ของยางบริดจ์สโตน
Bridgestone to spend $375m to build first tire plant in Russia The project will cost $375 million..capacity of 12,000 units a day (or roughly 4.4 million units per year) ความว่า...บริดจ์สโตนใช้เงินลงทุน $375m หรือราว ๆ 13,600 ล้านบาท ตั้งโรงงานผลิตยางขนาด 4.4 ล้านเส้นต่อปี
ดู ๆ แล้วจิ้บจ๊อยมากสำหรับไทย ถ้าจะตัดสินใจทำ .. นะครับ
ไทยเราใช้ยางรถยนต์ราว ๆ 10 ล้านเส้นต่อปี (ข้อมูลในตาราง 9 ล้านเส้นเมื่อหลายปีก่อน) เอาแค่รถราชการก็น่าจะหลายแสนเส้นต่อปีเข้าไปแล้วครับ (ถามอากู๋แล้วยังตอบไม่ได้ว่ารถราชการมีกี่คัน แต่บอกว่าทั้งประเทศมี 28 ล้านคัน ก็ถ้ารถราชการมี 4 แสนคัน ก็ใช้ยางประมาณ 1 แสนเส้นต่อปี)
ที่ต้องเริ่มจากรถราชการเพราะยางไทยแบรนด์ รุ่นแรก ๆ คงไม่นิยมนัก ก็ต้องให้ราชการใช้เอง กับขายประชาชนในราคาถูกกำไรต่ำ จนกว่าหน่วยอาร์แอนด์ดี ทำยางเจ๋ง ๆ ออกมาครับ ซึ่งทำได้แน่นอน เพราะไทยเรากิน นอน กะต้นยางเองแท้ ๆ ทำไมจะ "ทำยาง" คุณภาพสูง ๆ ไม่ได้
ตารางข้างล่างเป็นงานวิจัยเก่าเท่าที่หาได้ของ TDRI
TDRI,โครงการสํารวจพฤติกรรมทางการตลาด, บทที่ 7 อุตสาหกรรมยางรถยนต์
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « นิยายหลอกเด็ก๔:มันหมู มันดี หรือ...
- ใหม่กว่า » กู มึง :ละครใหม่กำลังมา (อีกแล้ว)
ความเห็น
เทคโนโลยีหลัก อยู่ที่เครื่องจักรมากกว่าครับ โรงงานที่ผลิตยางรถยนต์ในไทยก็ใช้วิศวกร และช่างเทคนิคไทยทั้งนั้น ก็กำลังเช็คกะเพื่อนที่ไม่ได้ติดต่อกันนานเคยทำงานที่ไฟร์สโตน ตอนนี้น่าจะเกษียณกันแล้ว ลองดูในยูทูปพลาง ๆ ครับ
เมื่อเช้าแวะบูท วิศวกรรมเคมี ในงาน RSUOpen House 2016 ที่จัดแสดงผลงานการนำยางพารามาใช้ประโยชน์ เช่น ลูกบอลออกกำลังมือตามรูป
โชคดีที่มีอาจารย์ท่านหนึ่งอยู่ด้วย ก็เลยถือโอกาสคุย เรื่องขีดความสามารถทางวิศวกรรมของคนไทย
ผม :สามารถ ไปถึงระดับผลิตยางรถยนต์เองได้จริงหรือ
ท่าน: ก็บอกว่าผลิตได้กันอยู่แล้วพวกยางรถแทรคเตอร์ไง
ผม: ไม่ใช่ ผมหมายถึงยางรถเก๋ง ที่ต้องมีพิกัดใช้งานที่ความเร็วสูงได้
ท่าน : ก็ผลิตกันอยู่ บริดจ์สโตน, ฯลฯ ไง
ผม : ไม่ใช่ หมายถึงแบรนด์ไทยเองเลย
ท่าน : ได้ทางวิศกรรม เรามีความรู้ และไปได้ลึกเพียงพอ
ผม : อ่า ครือว่า จะได้บอกท่านลุงตู่ ว่าไทยทำได้นะ
ท่าน : ท่านรู้อยู่แล้ว แต่ท่านคงอยากทำแนวอื่น
ผม : ยางรถยนต์นะดีที่สุด สามารถดึงยางดิบออกจากตลาดมาเพิ่มมูลค่าเพิ่มได้เยอะ การทำที่นอนยาง หรือของ OTOP ไม่รู้จะถึง แสนตันต่อปีหรือเปล่า ??
ท่าน : !@#$% ขอตัวไปสอนก่อนนะ
http://www.blackdonut.com/th/knowledge10
ยกตัวอย่างตัวเลขกับตัว ย่อ เช่น 205/55 R 16 89V
205 บอกความกว้างของหน้ายาง
55 บอกอัตราส่วนขนาดยาง (ซีรี่ส์)
R บอกถึงโครงสร้างยางว่าเป็นยางแบบเรเดียล
16 บอกถึงเส้นผ่าศูนย์กลางกะทะล้อ
89V คือตัวเลขที่ใช้แทนความสามารถในการรับน้ำหนักของยาง
.. 89 ความสามารถในการรับน้ำหนักของยางเท่ากับ 580 กก.
V มีความสำคัญเพราะจะบอกถึงขีดจำกัดความเร็วสูงสุดของยาง
ตัวอักษรที่กำหนดมีมากมายแตกต่างกันตามสมรรถนะ เช่น
S ในขีดจำกัดความเร็วสูงสุดที่ 180 กม. / ชม.
T ในขีดจำกัดความเร็วสูงสุดที่ 190 กม. / ชม.
H ในขีดจำกัดความเร็วสูงสุดที่ 210 กม. / ชม.
V ในขีดจำกัดความเร็วสูงสุดที่ 240 กม. / ชม.
W ในขีดจำกัดความเร็วสูงสุดที่ 270 กม. / ชม.
Y ในขีดจำกัดความเร็วสูงสุดที่ 300 กม. / ชม.
ZR ในขีดจำกัดความเร็วสูงสุดที่ 240 กม. / ชม. ขึ้นไป
อัพเดต:
ยาง: โรงงานยางรถยนต์ ไทยแบรนด์ TH-Tyre
การการยางแห่งประเทศไทย กยท. ได้ริเริ่มโครงการยางล้อประชารัฐ เป็นหนึ่งในโครงการผลักดันส่งเสริมการใช้ยางพาราในประเทศของรัฐบาล ซึ่งอุตสาหกรรมยางล้อรถใช้วัตถุดิบจากยางพาราเป็นจำนวนมาก ...
โดยโครงการดังกล่าว จะผลิตยางล้อภายใต้แบรนด์ TH-TYRE (ไทย-ไทเอ่อร์) จะเป็นยางล้อรถจากวัตถุดิบชั้นเยี่ยมของชาวสวนยางไทย ผลิตจากบริษัทคนไทยที่มีมาตรฐาน คุณภาพสากล
ดร.ธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการ กยท. กล่าวว่า กยท. ได้รับความร่วมมือในการผลักดันการแปรรูปใช้ยางในประเทศในรูปแบบล้อยางกับบริษัทผลิตยางล้อจากเอกชน นั่นคือ “ดีสโตน” ซึ่งเป็นแบรนด์ยางล้อของไทยที่ส่งขายทั่วโลก
#ดัน
ไม่ได้เข้ามาเขียนนาน เผื่อลุง ลงใต้อีก ช่วยกันขอซักหมื่นสองหมื่นตั้งโรงงานยางไทย ทีต๊ะ...
ขอจีนมาช่วยก็ได้ ลำพังแค่รถราชการก็หลายแสนเส้นต่อปีแล้วผมว่า
15 มกราคม 2559 05:56
#104448
เราทำได้ไปถึงขั้น ยางเรเดียล แล้วยังอาจารย์
เพราะดู ๆ แล้วมีแต่ทุนต่างชาติที่เปิดโรงงานทำล้อรถในไทย