ความเห็น: 1
กาลครั้งนานมาแล้ว โลกทัศน์ที่บิดเบี้ยวของบัณฑิตศึกษาได้เกิดขึ้นในประเทศไทย
กาลครั้งนานมาแล้ว โลกทัศน์ที่บิดเบี้ยวของบัณฑิตศึกษาได้เกิดขึ้นในประเทศไทย
ในบางสังคม การคาดเข็มขัดนิรภัย เป็นกริยาปกติ ที่ไม่มีใครตั้งคำถาม แต่สำหรับบางสังคม สิ่งปกติเช่นนี้ กลับถูกตั้งคำถามครั้งแล้วครั้งเล่า และสุดท้ายสังคมก็เห็นมันเป็นเพียงทางเลือกในการปฏิบัติ (ซึ่งบางครั้งทางที่ดี ก็ ไม่เคยถูกเลือก)
ผมกำลังสงสัยว่าที่ผ่านมา (อาจจะนานมากแล้ว) หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาที่มีวิทยานิพนธ์เป็นเป้าหมายสุดท้ายของการเรียนรู้ กำลังทำให้สิ่งปกติธรรมดา กลายเป็นสิ่งที่ผิดปกติ ใช่หรือเปล่า
ซึ่งไม่ว่าจะมองหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาในมุมมองของผลผลิตหรือกระบวนการ ผมเชื่อว่ากระบวนการเรียนรู้ของนักศึกษาไม่ควรสิ้นสุดที่วิทยานิพนธ์ – “มันน่าจะมีอะไรที่มากกว่านั้น”
ในแง่ของผลผลิต – วิทยานิพนธ์ น่าจะเทียบได้กับรายงานการวิจัยเล่มหนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่บอกเล่าเรื่องราวที่นักวิจัยคนหนึ่งได้ใช้ความพยายามเพื่อค้นให้พบสิ่งที่ “ใหม่” และ “สำคัญ”
ในแง่ของกระบวนการ – วิทยานิพนธ์ คือ ความพยายามหนึ่งในการตั้งคำถาม หาคำตอบ และอธิบายเรื่องราวอย่างเป็นวิทยาศาสตร์
สิ่งสำคัญของการเรียนรู้ในระดับบัณฑิตศึกษา คือ นักศึกษาได้รับการฝึกฝนและเรียนรู้ทุกขั้นตอนสำคัญของกระบวนการ “สร้างสม” องค์ความรู้ ตั้งแต่ตั้งคำถาม จนกระทั่ง…กระจายคำตอบที่ได้สู่สังคม
จากข้อเสนอดังกล่าว การเขียนบทความทางวิชาการเพื่อตีพิมพ์ ก็น่าจะเป็นเพียงขั้นตอนปกติขั้นตอนหนึ่งของการทำงานวิจัยเท่านั้น ไม่ได้มีอะไรพิเศษเลย และ…เมื่อหันกลับมามอง “งาน” ของนักวิชาการอย่างเราๆ คำตอบน่าชัดเจนขึ้นครับ
ใช่หรือที่ “รายงานการวิจัย” คือ เป้าหมายของความพยายามทั้งหมดทั้งเพ
ดังนั้น….ถ้าเราไม่สร้างกระบวนการเรียนรู้ดังกล่าวให้กับนักศึกษา ก็เท่ากับว่า เรากำลังสร้างโลกทัศน์ที่บิดเบี้ยวให้กับพวกเขา ซึ่งสุดท้ายนำไปสู่การตั้งคำถามแปลกๆ ที่เราเองก็ไม่อยากจะตอบ
ปล. ไม่ต้องตามหาโลกทัศน์ที่ว่านะครับ ตอนนี้มันน่าจะถูกทำให้หายไปแล้ว (มั้ง)
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « เรียนปริญญาเอกให้สนุกและได้ผลงาน...
- ใหม่กว่า » อย่าคิดนะว่า ปริญญาเอกที่ไหน ก็เ...
10 พฤศจิกายน 2550 14:09
#1290
เชื่อ หรือ ไม่
ผมไม่เคยได้ใช้ประโยชน์จากวิทยานิพนธืปริญญาเอกของผมเลย
แต่ผมได้กระบวนการคิด กระบวนการทำงาน เพื่อได้มาซึ่งความรู้ใหม่ จากการเรียนปริญญาเอก ซึ่งใช้หากินอยู่ทุกวันนี้