ความเห็น: 10
ลูกฉันอยู่ไหน
ในช่วงเดือนกว่าที่ได้มารับตำแหน่งรองคณบดีฝ่ายวิชาการ ผมได้รับทราบกรณีพ่อ-แม่ มาตามหาลูก 3 รายแล้วครับ
รายแรก เป็นผู้ที่มีผลการเรียนตกออก (ทางเจ้าหน้าที่ของคณะได้เคยแจ้งให้กับคุณแม่ทราบแล้ว) แต่เด็กคนนี้ก็บอกกับแม่ว่ากำลังดำเนินการขอแก้ไขความผิดพลาด และมาเรียนและเข้าสอบตามปกติ (เด็กคนนี้เข้าสอบปลายภาค 1/50 ของวิชาหนึ่ง โดยไม่มีชื่อในทะเบียน) คุณแม่ก็ส่งเงินมาให้เป็นประจำ และเมื่อคุณแม่สงสัยเดินทางมาที่คณะฯ ได้ตรวจสอบดูแล้วพบว่าตกออกไปตั้งแต่ปลายภาค 1/49
รายที่สอง คุณพ่อมาจาก อ.สายบุรี จ.ปัตตานี มาตามหานักศึกษาปี 1 ซึ่งเมื่อตรวจสอบดูแล้วไม่มีรายละเอียดการลงทะเบียนใดใด คุณพ่อยืนยันว่ามาส่งเข้าหอพัก และมีกุญแจหอพัก คณะฯติดต่อถามไปยังเพื่อนร่วมห้องพักบอกว่าไม่ได้อยู่ที่ห้อง แต่จะกลับมาประมาณสัปดาห์ละครั้ง สอบถามคุณพ่อทราบว่าไม่ได้เปิดบัญชี ธ.ไทยพาณิชย์ ม.อ. แต่เปิดบัญชีออมสินโอนเงินมาให้ลูกถอนโดย ATM ตลอดมา มาตามหาที่ ม.อ.นี้ ก็ไม่เจอตัว โทรศัพท์ติดต่อไม่ได้
รายที่สามคุณพ่อโทรศัพท์มาจากระนอง เพราะติดต่อลูกชายไม่ได้ 2-3 เดือนแล้ว เมื่อได้ตรวจสอบข้อมูลพบว่า เทอม1/50 ผลการลงทะเบียนถูกถอนไปทุกรายวิชา และเทอมนี้ยังไม่ได้ลงทะเบียน นักศึกษาอยู่ในสภาวะรอพินิจ (1.99) ตั้งแต่ปลายเทอม 2/49 และลงทะเบียนไปฝึกงานเทอม 3/49 ด้วย คุณพ่อบอกว่าได้ส่งเงินมาให้ตามปกติตลอด
ผมคิดว่ายังคงมีกรณีแบบนี้อยู่อีกครับ แต่เราจะป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีกได้อย่างไร และจะทำอย่างไรให้ผู้ปกครองได้รับรู้ถึงความเป็นไปของบุตรหลานของตนได้ทันต่อเวลาครับ
ปัจจุบันนี้ คณะฯ มีการแจ้งผลการเรียนนักศึกษาทุกคนไปยังผู้ปกครองโดยทางจดหมาย และมีระบบค้นหาข้อมูลของนักศึกษาโดยผู้ปกครอง ผ่านทาง web site แต่ก็ไม่เพียงพอครับ แม้กระทั่งอาจารย์ที่ปรึกษาเองก็ยังไม่ทราบความเป็นไปของนักศึกษาได้ทันท่วงที ดังนั้นเราคงต้องช่วยกันหาวิธีการป้องกันเหตุการณ์แบบนี้ไม่ให้เกิดขึ้นอีก หากท่านมีความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะ ผมขอน้อมรับด้วยความยินดีครับ
บันทึกอื่นๆ
- ใหม่กว่า » ปัญหานักศึกษาเรียนอ่อน
ความเห็น
![]() |
แปลกนะคะ ที่เรามักจะไม่เห็นภาพแบบนี้ในสถาบันอุดมศึกษาที่ต่างประเทศ เพราะนักศึกษาส่วนใหญ่จะดูแลตัวเอง รับผิดชอบตัวเองได้เป็นอย่างดี โดยไม่ต้องให้พ่อแม่ผู้ปกครองเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เคยคิดถึงความแตกต่างตรงนี้อยู่บ่อยๆ เหมือนกันค่ะ
บางทีคิดไปถึงว่า นี่มันเป็นปัญหาของระบบการศึกษาหรือเปล่า ทำไมนักเรียนไทยบางกลุ่มเมื่อเข้ามาในระดับอุดมศึกษาได้แล้ว กลับไม่เห็นความสำคัญของการเรียนรู้ในระดับมหาวิทยาลัย แต่เรียนเพียงเพื่อให้จบๆ ไป มันเป็นปัญหาของระบบการศึกษาของเราที่มุ่งเน้นการสอบเข้ามหาวิทยาลัย โดยไม่ได้เน้นให้เด็กๆ เห็นประโยชน์ของการแสวงหาความรู้.. และถ้าเด็กๆ มีมุมมองที่ไม่ถูกต้องต่อการเรียนรู้แล้ว อาจารย์มารับมือที่ปลายทางแล้ว คงต้องเหนื่อยน่าดูเหมือนกันนะคะ
ขอบคุณครับ สำหรับความเห็นของทุกท่าน ประเด็นความร่วมมือจากอาจารย์ผู้สอนและ เพื่อนนักศึกษา หากได้มีการช่วยกันสอดส่องก็น่าจะช่วยได้ แต่ปัจจุบันมีอาจารย์ผู้สอนเช็คชื่อนักศึกษาเข้าชั้นเรียนมากน้อยเพียงใด และได้ตรวจสอบว่ามีการขาดเรียนบ่อยอาจจะเป็นปัญหาและได้ส่งสัญญาณเตือนไปยังอาจารย์ที่ปรึกษาได้ทันเหตุการณ์หรือไม่ ก็ต้องขอความเมตตาจากอาจารย์ และเพื่อนนักศึกษาครับ
ประเด็นที่นักศึกษาเองควรจะต้องมีคุณธรรม จริยธรรม ความเป็นผู้ใหญ่อย่างเพียงพอเองนั้น ก็คงจะเป็นกันไม่ได้ทุกคน คนที่ไม่ได้รับการปลูกฝังพื้นฐาน (มีวัคซีนป้องกันโรค) มาเพียงพอก็คือคนที่จะมีปัญหาเหล่านี้ ซึ่งในฐานะสถาบันการศึกษา ผมคิดว่าเรามีหน้าที่เพิ่มเติมตรงนี้ด้วยครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันสภาพแวดล้อมมีสิ่งยั่วยวนให้นักศึกษาหลงทางได้มาก ไม่ว่าจะเป็น การพนัน เกมส์และอินเตอร์เน็ต สุรา/ยาเสพติด และค่านิยมหรือความเชื่อที่ผิด ๆ หลายอย่างครับ
ผมเขียนเล่าเรื่องนี้เพราะอยากจะหาวิธีการที่จะช่วยส่งสัญญาณเตือน เพื่อที่จะป้องกันปัญหาไม่ให้รุนแรงจนเกินไป โดยเฉพาะสัญญาณเตือนถึงผู้ปกครอง เพื่อให้ไม่ถูกลูกหลานหลอกขอเงินครับ หากมีปัญหาเรื่องการเรียนไม่ไหวหรือตกออก ผมคิดว่าเป็นธรรมดา ที่ผู้ปกครองยอมรับได้ไม่ยากครับ แต่ที่เป็นปัญหาอาจจะมีเรื่องอื่น ๆ ที่ซับซ้อนกว่านี้ซ่อนอยู่ก็ได้ครับ
- ขอเรียนปรึกษาอาจารย์นะคะ
- คือว่าลูกของเพื่อนประสบปัญหา คุณแม่เขาโทรปรึกษา ลูกเขาได้ E 2 วิชาเมื่อเทอมที่ผ่านมา ขณะนี้ได้เกรดเฉลี่ย 2.32 จะทำอย่างไรดี เกรงว่าเทอม 2 นี้เกรดลดลงอีก
- ขอหารือว่านักศึกษาควรไปปรึกษาใครค่ะ?
- นักศึกษาบอกว่าเขารู้ว่าทั้ง 2 วิชาเทอมที่แล้วต้องได้ E แต่ไม่ถอน เพราะถ้าถอนจะลงวิชาที่ต่อไม่ได้ค่ะ
- ขอบคุณมากค่ะ
- ขอเรียนปรึกษาอาจารย์นะคะ
- คือ ว่าลูกของเพื่อนประสบปัญหา คุณแม่เขาโทรปรึกษา ลูกเขาได้ E 2 วิชาเมื่อเทอมที่ผ่านมา ขณะนี้ได้เกรดเฉลี่ย 2.32 จะทำอย่างไรดี เกรงว่าเทอม 2 นี้เกรดลดลงอีก
- ขอหารือว่านักศึกษาควรไปปรึกษาใครค่ะ?
- นักศึกษาบอกว่าเขารู้ว่าทั้ง 2 วิชาเทอมที่แล้วต้องได้ E แต่ไม่ถอน เพราะถ้าถอนจะลงวิชาที่ต่อไม่ได้ค่ะ
- ขอบคุณมากค่ะ
![]() |
ปัญหาที่กล่าวมานี้ คณะฯ และ อาจารย์ ไม่ว่าอาจารย์ผู้สอนหรืออาจารย์ที่ปรึกษา คงไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดชอบได้ดอกครับ อย่างน้อยก็ด้วยเหตุผลทางด้านจริยธรรม ผมเองในฐานะของคนที่มีลูกวัยรุ่นเหมือนกัน นึกถึงหัวอกพ่อแม่ของ นศ. แล้วก็สะเทือนใจ เพราะนอกจากลูกจะล้มเหลวในการเรียนแล้ว ยังมาหลอกพ่อแม่ให้ต้องเสียใจอีก
การที่เป็นเช่นนี้ผมไม่อยากให้เราตำหนิ นศ. แต่ฝ่ายเดียว ผมมาตระหนักความจริงข้อหนึ่ง ตอนผมมีลูกอยู่ในวัยเรียนมหาวิทยาลัยว่า เด็กไทย ในวัยเรียน ม. นั้น แท้จริงแล้วยังเด็กและอ่อนต่อโลก เกินกว่าที่ผมเคยคิดไว้มาก และที่เป็นเช่นนี้ก็น่าจะ เ็นเพราะสังคมไทยเราให้เด็กเราเป็นเช่นนี้เอง
ผมอยากจะ share ประสบการณ์ ว่าผมทำอย่างไรบ้าง และได้ผลอย่างไร ทั้งในฐานะอาจารย์ผู้สอน และอาจารย์ที่ปรึกษา ในฐานะอาจารย์ผุ้สอนหากมี นศ. คนใดขาดเรียนบ่อย ผมจะเรียกมาพบ หรือแจ้งให้อาจารย์ที่ปรึกษาของ นศ. ผู้นั้นทราบ
ในกรณีที่ผมเป็นทั้งอาจารย์ผู้สอน และ อาจารย์ที่ปรึกษา ของ นศ. คนเดียวกัน เรื่องก็จะง่ายขึ้นมาก ผมจะคุยกับ นศ. และให้คำแนะนำทั้งด้านการเรียนและการใช้ชีวิต พร้อมทั้งขอเบอร์โทรศัพท์ที่บ้าน นศ. เพื่อโทร. ไปคุยกับผู้ปกครอง แจ้งปัญหาการเรียนของ นศ. ให้ทราบ รับฟังปัญหาของ นศ. จากที่บ้าน หรือปัญหาอื่น ๆ ของทางบ้าน นศ. และแนะนำว่าผู้ปกครองควรปฏิบัติอย่างไรบ้าง
กรณีที่ นศ. ตกออกแล้วไม่บอกที่บ้าน ผมเข้าใจว่า น่าจะมาจากการที่เด็กเขายังไม่กล้ายอมรับความจริง และกลัวว่าจะถูกผู้ปกครองดุด่า หรือกลัวว่า ความจริงดังกล่าวจะทำให้พ่อ-แม่เสียใจมาก ผมก็จะแนะนำ นศ. ไปว่าการทำเช่นนั้นมีแต่ จะยืดเวลาการแก้ปัญหาออกไป และน่าจะทำให้ ปัญหารุนแรงขึ้น และแจ้ง นศ. ว่าผมยินดีที่จะเป็น ผู้แจ้งปัญหาให้ผู้ปกครองของ นศ. ทราบเสียเองก็ได้ และในฐานะอาจารย์ที่มีประสบการณ์ชีวิตมายาวนาน ผมเชื่อว่าผมมีวิธีที่จะพูดกับผู้ปกครองของ นศ. ให้พอยอมรับหรือเผชิญกับความจริงที่น่าเจ็บปวดนี้ได้ดีขึ้น
ผมพบว่าหลังจากการทำเช่นนี้ผู้ปกครองบางคนมักโทร. มาหาอีกหรือมาพบผม เพื่อสอบถามข่าวคราวของ นศ. และการที่ผู้ปกครองทราบปัญหาของลูกหลาน ตัวเองแต่เนิ่น ๆ ก็มีส่วนช่วยให้เขาสามารถรับมือกับ สถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ดีขึ้น
อย่างไรก็ดี อ. แต่ละคน อาจจะให้ความสนใจ และรับผิดชอบ นศ.ได้ดีไม่เท่ากัน จึงควรให้ภาควิชาฯ หรือหน่วยกิจการ นศ. ลงมาช่วยเหลือในจุดนี้ด้วย
- ขอบคุณมากค่ะท่านรองฯฝ่ายวิชาการและอาจารย์ปราโมทย์
- จะได้รีบแจ้งผู้ปกครองนักศึกษาเพื่อดำเนินการก่อนที่จะสายไป
![]() |
ผมว่ามันน่าจะมีเหตุผลประกอบกัน 4 ส่วนนะครับ
1. มหาวิทยาลัย ด้วยมาตราการรับเด็กเพิ่มขึ้น ทุกๆ ปี จึงไม่ใช่เรื่องแปลกครับ ว่าเด็กที่มีคุณสมบัติไม่ถึงจะสามารถเข้ามาเรียนได้ รวมทั้งการเอาเกรดเฉลี่ยตอนเรียนมาเพิ่มลงไปอีก ยิ่งหนักครับ เพราะแต่ละโรงเรียนมีการให้เกรดนักเรียนไม่เหมือนกัน มาตราฐานวัดกันได้ยาก รวมทั้งการเอากฏที่เกรดเฉลี่ยต่ำกว่า 1.45 ตกออก ในปีการศึกษาแรกออก
2. ผู้ปกครอง ด้วยความที่รักลูกไม่ถูกทาง ตามใจจนชิน ไม่ฟังคนอื่นนอกจากลูกตัวเอง เด็กพูดอะไรก็เชื่อเด็กครับ อันนี้น่ากลัว
3. อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ที่ปรึกษาบางท่านไม่เคยรู้จักเด็กในที่ปรึกาตัวเองเองด้วยซ้ำครับ แต่ต้องรับมาเพราะเป็นหน้าที่ (อันนี้ส่วนน้อยนะครับ)
4. เด็ก ตัวการใหญ่เลย ด้วยความที่คิดว่าสอบเข้ามาได้แล้วจบแน่นอนแถมมหาลัยก็ไม่ยอมรีไทร์ ในภาคการศึกษาแรกเกรดที่น้อยมาก ตั้งแต่ภาคการศึกษาแรกแทบไม่มีทางเลยครับที่จะทำให้พ้นภาวะรอพินิจได้ใน 3 ภาคการศึกษา ทีนี้พอหมดกำลังใจ ด้วยความที่คิดสั้นๆ ว่าพ่อแม่ไม่รู้ ครูอาจารย์ไม่รู้ ก็เตลิดละครับ ยิ่งเด็กบางคนติดพนัน ติดเหล้า ไม่ต้องพูดถึงครับ
ถ้ามหาวิทยาลัยเองสามารถปรับไปใช้กฏเดิมได้คือ เกรดเฉลี่ยภาคการศึกษาแรกต่ำกว่า 1.45 ก็ตกออกไป อย่างน้อยเด็กก็ยังมีโอกาสไปเริ่มต้นใหม่ได้นะครับ
ด้วยความที่สมัยนี้เด็กสมัยใหม่คิดว่าตัวเก่งกว่าบุพการี การโกหกพ่อแม่และหลอกตัวเองจึงเป็นสิ่งที่เราพบได้บ่อย โดยที่เด็กไม่สำนึกเลยว่าพ่อแม่เก่งแค่ไหนที่เลี้ยงตัวเค้าเองและลูกๆ มาได้จนถึงตอนนี้
ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราจะปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรมแก่เด็กรุ่นใหม่ เป็นแบบอย่างที่ดีเพื่อให้เด็กดูเป็นแบบอย่าง
1. ทิศทางนโยบายของคณะวิศวกรรมศาสตร์คงจะไม่เพิ่มการรับนักศึกษาปริญญาตรีมากไปกว่าปัจจุบัน แต่พยายามจะยกระดับคุณภาพของนักศึกษาที่เข้ามาโดยใช้วิธีการรับช่องทางพิเศษ (ให้ทุน หรือโควต้า) เพิ่มมากขึ้น และกำหนดเกณฑ์คะแนนขั้นต่ำวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์
2. ผู้ปกครอง เราก็ต้องพยายามให้ความรู้ความเข้าใจกับผู้ปกครองเพิ่มมากขึ้นครับ โดยการสื่อสารกันมากขึ้น คณะวิศวกรรมศาสตร์มีการประชุมพบกับผู้ปกครองนักศึกษาชั้นปีที่ 1 และบางภาควิชาก็ดำเนินการประชุมพบผู้ปกครองชั้นปีที่ 3 แต่ก็ยังต้องหาวิธีการสื่อสารที่ทันต่อเหตุการณ์ ก่อนเป็นปัญหามากเกินไปสำหรับบางราย
3. อาจารย์ที่ปรึกษา ก็ต้องเพิ่มบทบาทมากขึ้น เป็นที่ปรึกษาทั้งทางวิชาการ และวิชาชีวิต หรือสามารถแนะนำหรือส่งต่อให้กับผู้ที่สามารถเข้าใจ และช่วยแก้ปัญหานักศึกษาได้
4. เห็นด้วยครับว่า ตัวนักศึกษาคือประเด็นสำคัญ แต่ก็ไม่ใช่ปล่อยให้ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ผมหมายถึงกลุ่มนักศึกษาต้องช่วยกันดูแลตัวเอง และเพื่อน ๆ ด้วย ทำอย่างไรจะให้สมเป็น"ปัญญาชน" ไม่ใช่"ปัญหาชน" ของสังคมครับ
ถึงเวลาแล้วครับ (ยังไม่สายไป) ที่เราจะปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรมแก่เด็กรุ่นใหม่ และเราควรเป็นแบบอย่างที่ดีเพื่อให้เด็กดูด้วยครับ
12 พฤศจิกายน 2550 10:42
#1309
สวัสดีครับ อ.วรวุธ
น่าจะเป็นคุณธรรม จริยธรรมของนักศึกษาเป็นหลัก อาจจะให้เพื่อนนักศึกษาที่สนิทสนมหรือภาควิชา/หน่วยงาน/บุคลากรที่รู้ข้อมูล ช่วยเป็นหูเป็นตาและแจ้งข่าวสารให้คณะฯทราบครับ