ความเห็น: 0
บทเรียนการนำศึกษาไปเรียนรู้ความเป็นสากลที่มาเลเซียของคณะทรัพยากรธรรมชาติ
เมื่อ 2 ปีที่แล้ว คณะทรัพยากรธรรมชาติ โดยกรรมการประจำคณะได้ร่วมกันให้ความเห็นชอบการนำนักศึกษาคณะ ระดับปริญญาตรีทุกคนไปเรียนรู้ความเป็นสากลที่ประเทศมาเลเซีย โดยสนับสนุนค่าเดินทางคนละ 5,000 บาท เมื่อศึกษาอยู่ชั้นที่ 3 4 ตามการกำหนดของภาควิชา โดยมุ่งหวังให้นักศึกษาเรียนรู้ความเป็นนานานชาติจากสภาพจริง เห็นความจำเป็นของการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาตนเองได้ชัดเจน อีกทั้งอีก 2 ปีข้างหน้า คือปี 2558 ที่ประเทศในอาเซียนกำลังจะเข้าสู่เขตการค้าเสรีอาเซียน ซึ่งหมายถึง เขตพื้นที่การผลิต การค้า ตลาดสินค้า จะกว้างขึ้น หลากหลายความต้องการ และหลากวัฒนธรรม จึงเป็นการเตรียมบัณฑิตให้สอดคล้องกับสภาวะการณ์ดังกล่าว
การไปมาเลเซีย นอกจากส่วนนักศึกษา ก็เป็นโอกาสของอาจารย์ และเจ้าหน้าที่ที่ไปดูแลนักศึกษาก็มีโอกาสได้เรียนรู้ไปด้วย
วันหนึ่งได้มีโอกาสเรียนเรื่องนี้ให้ท่านอธิการบดี ท่านจึงบอกให้ช่วยนำบทเรียนไปเสนอในที่ประชุมคณบดี และเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2554 คณะทรัพยฯได้มีโอกาสนำบทเรียนของการจัดของภาควิชาวาริชศาสตร์ โดย ผศ.ดร.สุพัตรา เดวิสัน หัวหน้าภาควิชาเป็นผู้นำเสนอ ร่วมกับ ดร.ยุทธพงศ์ สังข์น้อย อาจารย์ ดร.ใหม่ ของภาควิชาที่ทำหน้าที่จัดการนำนักศึกษาไปมาเลเซีย ซึ่งภาควิชาได้มีการจัดที่ดีมาก (มีผู้มาให้คำชม)
การดำเนินการมีตั้งแต่การเตรียมความพร้อมให้นักศึกษา ทั้งการอบรมภาษาอังกฤษที่จำเป็นต้องใช้ การบรรยายความรู้สังคมอิสลาม การบรรยายของเจ้าหน้าที่บริษัททัวร์เพื่อให้รู้ กฎ ระเบียบกติกาการเดินทาง และการนำนักศึกษาไปทำหนังสือเดินทาง
ในการไปจริงก็ไปเยี่ยมเยียนสถาบันการศึกษาในมาเลเซีย ซึ่งก็ได้รับการต้อนรับอย่างดี พร้อมให้นักศึกษามาเลเซียมาร่วมต้อนรับ ดูแล ร่วมกิจกรรม เป็นกลุ่มย่อยซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้นักศึกษามีโอกาสทำความรู้จัก พูดคุยระหว่างนักศึกษา มีการปล่อยให้นักศึกษาจัดกลุ่มไปผจญสภาพจริงกันกันเอง
เมื่อกลับมาก็ยังมีการสรุปบทเรียน เพราะก่อนไป ภาควิชาได้มอบงานให้นักศึกษาไปทำรายงานเป็นกลุ่ม มาเพื่อรายงาน สรุปบทเรียน พร้อมประเมินส่วนที่เป็นข้อดี ข้อเสีย เพื่อการปรับปรุงต่อไป
หลังจากที่นั้นไม่นาน ทางมหาวิทยาลัยซายส์มาเลเซียก็นำนักศึกษามาเรียนรู้ที่คณะในลักษณะเดียวกัน และมาพร้อมกับการให้นักศึกษาทุกคนที่มาต้องร่วมแสดงศิลปวัฒนธรรมเป็นกลุ่ม รวมถึงอาจารย์และเจ้าหน้าที่ที่มาด้วย และมีการนำนักศึกษาไปศึกษาสภาพทรัพยากรจริงที่ทะเลน้อย โดยจัดนักศึกษาของภาควิชาไปร่วมเป็นกลุ่ม ๆ ร่วมกับนักศึกษาของมาเลเซีย
นับเป็นความสำเร็จขั้นต้นที่ดีมาก ดีกว่าที่คิดไว้ ก้าวต่อไปคงทำให้มีความต่อเนื่อง พร้อมพัฒนาของความร่วมมือการเรียนการสอนร่วมกัน ขยายไปในระดับบัณฑิตศึกษา การทำวิทยานิพนธ์ การทำวิจัยร่วมกัน การเป็นผู้ทรงคุณวุฒิสอบวิทยานิพนธ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาร่วม
ขอขอบคุณ ดร.สุพัตรา เดวิสัน และทีมงานภาควิชาวาริชศาสตร์ ทั้งการจัดกิจกรรมที่ดี การเป็นตัวแทนคณะนำเสนอบทเรียนในประชุมคณบดี ในการดำเนินกิจกรรมนี้ ได้รับความร่วมมือร่วมใจของอาจารย์ บุคลากรภาควิชาหลายท่าน
วันนี้ นักศึกษาที่มาเรียนที่คณะทรัพยากรธรรมชาติทุกคน จะได้ไปต่างประเทศเพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ อันเป็นเตรียมความพร้อมบัณฑิตไทย ตามวิสัยทัศน์ใหม่ของคณะ ที่ผลิตบัณฑิตมาตรฐานสากล ด้วยค่านิยม พัฒนาการเกษตรไทย ใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « งานเกษตรภาคใต้ เวทีพัฒนาทักษะการ...
- ใหม่กว่า » Thai pop ความนิยมไทยในจีน
ร่วมแสดงความเห็นในหน้านี้