ความเห็น: 0
Admissions 5. ความคิด องค์ประกอบพิการ
จากเป้าหมายการจัดการศึกษา ตามรัฐธรรมนูญไทย ได้กำหนดหลักการศึกษาที่สำคัญไว้ คือ ผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งหมายถึง ให้จัดการศึกษาตามทักษะและความถนัดในการเรียนรู้ของแต่ละคน
ที่สมัยก่อนมีการแยกการศึกษา ออกเป็นสายสามัญและสายวิชาชีพ
สายวิชาชีพ คือ ผู้ที่ต้องการฝึกทักษะความชำนาญ ไม่ถนัดด้านวิชาการ ที่เรียนแล้วจบไปทำงานฝีมือซึ่งสำคัญมากในการอุตสาหกรรมต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องศึกษาถึงระดับปริญญาตรี ให้เสียเวลา คือ อาชีวะศึกษา เป็นช่าง ที่ปัจจุบันมีความต้องการจำนวนมาก
ส่วนสายสามัญ คือ สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาตรี จึงเรียนวิชาการพื้นฐาน ที่สำคัญมีการแยกเป็นสายวิทยาศาสตร์ และสายศิลป์ ตามความถนัดของผู้เรียน ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดของรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2540
แต่ไม่ทราบว่า ท่านใดหรือคนกลุ่มใดที่ไปยกเลิกการแยกสายวิทย์ สายศิลป์ของการเรียนสายสามัญของ ม.ปลาย
ลามมาถึงการสอบจบ ม.ปลาย ที่เรียกว่า โอเน็ต ที่แยกเป็น 8 กลุ่มสาระวิชา คือ (1) ภาษาไทย (2) สังคมศึกษา (3) ภาษาอังกฤษ (4) คณิตศาสตร์ (5) วิทยาศาสตร์ (6) สุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ และ การงานอาชีพและเทคโนโลยี รวม 3 สาระวิชา
จะเห็นว่า กลุมสาระทางวิทยาศาสตร์ลดความสำคัญลงไป ทั้ง ๆ ที่ความรู้ ความสามารถทางวิทยาศาสตร์เป็นหัวใจทักษะสำคัญในโลกปัจจุบัน ที่เดิมมีแยกเป็น เคมี ฟิสิคส์ ชีววิทยา นี่คือส่วนสำคัญที่ทำให้การคัดเลือกผู้เข้าเรียนในสาขาที่ต้องการความสามารถทางวิทยาศาสตร์มีปัญหา
ดังนั้น เมื่อรวมสัดส่วน โอเน็ต กับการสอบความถนัดทั่วไป หรือ GAT: General Aptitude Test จึงแยกความถนัดทางวิทยาศาสตร์ไม่ได้ ทั้งความถนัดทางวิทยาศาสตร์ และสาระวิชาทางวิทยาศาสตร์เอง
- อย่างการเรียนทางวิศวะต้องการความรู้ด้าน ฟิสิคส์และคณิตศาสตร์เป็นหลัก แต่อาจสอบได้ฐานชีววิทยามากที่ส่งผลต่อการเรียนวิศวะ
- หรือแม้แต่วิทยาศาสตร์กายภาพกับวิทยาศาสตร์ชีวภาพก็เช่นกัน
โดยอ้างว่า การสอบ Admissions เป็นการวัดทักษะเป็นด้าน ๆ ไม่ใช่สาระวิชา ทั้ง ๆ ที่การศึกษาต่อนั้นต้องการความรู้ทางสาระวิชา ที่หากมีฐานความรู้ที่ไม่มาก ไม่แม่นจะศึกษาให้เข้าใจลึกซึ้งในระดับสูง ในเชิงลึกได้ยาก
- รวมถึงด้านคณิตศาสตร์ก็ไม่สามารถวัดคัดแยกความสามารถด้านตรรกะในการคิด คำนวณ ออกแบบในสาขาวิชาสถาปัตยกรรมได้ เช่นกัน
ทั้งหมดคือ มั่วไปหมดของทั้งระบบการศึกษา และการสอบคัดเลือกผู้เข้าศึกษา Admisions ของไทยที่เอาทั้งคะแนนสอบจบคือ GPAX และโอเน็ต มาถึงไว้ถึง 50% เหลือวิทยาศาสตร์ที่รวมกัน 3 แกนหลัก คือ เคมี ฟิสิคส์ ชีววิทยา ที่ระบบ entrance ที่แยกออกได้นั้นมีสัดส่วนถึง 60-70% ที่ระบบ Admissions รวม 3 วิชาเป็น ไม่เกิน 25% ทำให้แยกผู้เรียนที่ถนัดวิทยาศาสตร์ไม่ได้ และถนัดวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์สำหรับการเรียนสาขาวิศวะ วิทยาศาสตร์กายภาพและวิทยาศาสตร์ชีวภาพไม่ได้ ผลคือ เหนื่อยทั้งผู้เรียน ผู้สอน มาตรฐานลดลง มีการตกออกจำนวนมาก สูญเสียเวลาในการเข้าเรียนใหม่
คงเป็นเวรเป็นกรรมของคนไทยที่มีคนจัดระบบการศึกษาที่มั่วไป ทั้งหลักการผู้เรียนเป็นสำคัญ และความสำคัญของสาระด้านวิทยาศาสตร์ ทั้ง ๆ ที่สมัยก่อนได้ดำเนินการมาชัดเจนตามหลักการแล้ว
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « Admissions 4. คนเรียนเก่งเรียนเร...
- ใหม่กว่า » ทำไม
ร่วมแสดงความเห็นในหน้านี้