ความเห็น: 2
การเกษตรยุคต่อไป ต้องเพิ่มค่าความเป็นไท(ย)
วิวัฒนาการการเกษตรมีการปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัยตลอดเวลา
เริ่มจากเกษตรธรรมชาติ ที่เปลี่ยนจากการสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติที่เก็บมาเป็นอาหาร ปัจจัยสี่ มาเป็นการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์
เมื่อมีความต้องการผลผลิตเพิ่มขึ้น จึงทำเป็นเกษตรอุตสาหกรรม ใช้พันธุ์พืชพันธุ์สัตว์พันธุ์ปรับปรุง ใช้ปุ๋ย ใช้สารเคมี จนส่งผลต่อสารตกค้าง มีปัญหาต่อความปลอดภัยและสภาพแวดล้อม จนเป็นภาระการผลิต จึงเปลี่ยนเป็นเกษตรที่ใช้เทคโนโลยีและระบบการจัดการ เช่น พันธุ์ตัดแต่งพันธุกรรมเพื่อสร้างพันธุ์ให้ต้านทานต่อสารเคมี การเกษตรระบบปิดโดยเฉพาะการผลิตสัตว์ คือยุคปัจจุบัน ซึ่งก็ยังคงมีปัญหา เรื่องการตัดแต่งพันธุกรรม หรือ GMO ปัญหาเรื่องภูมิต้านทานของการผลิตระบบปิดที่ทำให้ไม่สามารถปรับตัวตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงได้ เพราะสัตว์ที่เลี้ยงในระบบปิดไม่สัมผัสกับธรรมชาติเลย จึงขาดการปรับตัวตามธรรมชาติ
รวมถึงมีกระบวนการเอาเปรียบในระบบการผลิต เช่น ทำลายป่าเพื่อเพิ่มพื้นที่ปลูกจนเป็นปัญหาทางสิ่งแวดล้อม การใช้แรงงานผิดกฎหมายที่เอาเปรียบแรงงานและแข่งกันว่าราคาถูก เป็นต้น
การเกษตรยุคต่อไปต้องมีลักษณะ
1. เป็นเกษตรธรรมชาติ
2. เป็นเกษตรอินทรีย์
3. เป็นเกษตรเป็นธรรม คือเอาเปรียบในกระบวนการผลิต
4. เป็นเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
แต่ยังต้องการคุณภาพ ความปลอดภัยของผลผลิต การผลิต มีคุณค่าทางโภชนาการ
อย่างไรก็ตาม การเกษตรดังกล่าวจะมีผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อสูงเท่านั้นที่ยอมจ่ายในราคาสูง ส่วนคนทั่วไปยังไม่สามารถตอบสนองในราคาที่สูงได้
ดังนั้น การเกษตรยุคต่อไปจึงต้องเลือกตลาด ว่าจะผลิตน้อยตามผู้บริโภคกลุ่มที่พร้อมจ่าย หรือตลาดทั่วไป
อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยในฐานะประเทศที่มีความสามารถผลิตอาหาร สมควรที่ต้องยกระดับการผลิต เพื่อยกราคา เพื่อยกค่าครองชีพ ให้สูงขึ้น เพื่อไม่ต้องแย่งชิงกับประเทศที่ได้เปรียบด้านค่าแรง
- การเกษตรของไทยต้องเป็นระบบจัดการให้มีประสิทธิภาพและเพิ่มมูลค่ามากขึ้น
- ต้องสร้างความมั่นคงทางอาหารและเศรษฐกิจของประเทศ
- ต้องจัดการน้ำและสภาพแวดล้อม
- ต้องปลอดภัย ได้มาตรฐานการผลิต และความเป็นอยู่
- ต้องเป็นการเกษตรที่ยั่งยืน
ซึ่งการเกษตรดังกล่าวต้องไม่กังวลเรื่องการเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ แต่ต้องสร้างความมั่นคง ยั่งยืน คุ้มค่า รักษาสิ่งแวดล้อม คือเกษตรสร้างค่าและคุณ
ต้องดึงมูลค่าตามคุณค่า ตามภูมิปัญญาที่ไทยมีอยู่ในด้านอาหาร ด้านสมุนไพร เพื่อสร้างความเป็นเอกลักษณ์ที่ดี
ต้องใช้ฐานวิทยาศาสตร์มาอธิบาย สร้างมูลค่าตามคุณค่า
คือความท้าทายการเกษตรไทยที่ต้องปรับเปลี่ยนความคิด วัฒนธรรมการผลิตมาก เป็นการผลิตสร้างมูลค่า คุณค่า มาตรฐาน และความเป็นไทย ซึ่งได้รับการยอมรับอยู่แล้ว
อย่าไปหลงตามต่างชาติจนลดค่าความเป็นไทย ที่กำลังมีปัญหาที่บ้าสากล นานาชาติ จนลืมว่าไทยก็เป็นหนึ่งในนานาชาติที่ต้องเชิดชูและรักษาค่าให้คงอยู่ต่อไป
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « โลจิสติกการเกษตรในประชาคมเศรษฐกิ...
- ใหม่กว่า » ให้ เพื่อการทำงานที่เป็นสุข
28 สิงหาคม 2555 12:41
#80034
like ค่ะ ช่วยๆกันเพื่อให้เกษตรกรมีความเป็นอยู่ดีขึ้น เริ่มที่นักศึกษาของเราก่อน ให้เขาได้มีโอกาสคิดเป็นทำเป็นให้ได้แสดงความคิดเห็นมากๆ โดยเฉพาะในเรื่องการเกษตรที่เขายังมีความคิดว่าไม่เห็นต้องเรียนมากเพราะพ่อแม่ปู่ย่าก็ทำเกษตรได้ เขาไม่คิดว่าที่เรียนนี้จะช่วยยกระดับการเกษตรให้ดีขึ้น โดยใช้วิทยาศาสตร์เข้ามาช่วยอย่างมาก