ความเห็น: 0
โจทย์วิจัย...ใครกำหนด
งานวิจัย คือหนึ่งในหน้าที่ของสงขลานครินทร์ ตั้งไว้เป็นเป้าประสงค์หน่วยงาน ที่จะต้องดำเนินการเพื่อเสริมสร้างคุณค่างานวิจัยให้เป็นแก่นความรู้โดยนำความรู้ไปถ่ายทอดเพื่อยกระดับศักยภาพชุมชนให้เข้มแข็ง
งานวิจัย..
- ทำวิจัยเรื่องนี้ทำไม
- เราทำวิจัยเรื่องนี้ เพื่ออะไร และ
- จะศึกษาอย่างไรหรือหาคำตอบมาได้อย่างไร
คือ พื้นฐานสำคัญของการให้ได้มาซึ่งคำตอบ
นักวิจัย เลือกหัวข้อปัญหาว่าจะวิจัยหาคำตอบเกี่ยวข้องกับเรื่องอะไร โดยเลือกจากสิ่งใด หลากหลายคำตอบที่นักวิจัยสามารถตอบได้
นักวิจัย ภาควิชาพัฒนาการเกษตร คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เห็นความสำคัญส่วนหนึ่งว่า .. งานวิจัย คืองานที่มุ่งที่จะค้นหาโจทย์วิจัยที่สามารถตอบสนองความต้องการของชุมชน ทั้งปัจจุบันและในอนาคตที่ชุมชนจะวางแผนเพื่อการพัฒนาและนำไปใช้ได้จริง ฐานของการวิจัยเชิงพื้นที่คือ ชุมชนคือผู้รู้ปัญหา ชุมชนเป็นผู้ต้องการแก้ไขปัญหา ชุมชนเป็นผู้ที่จะต้องนำปัญหามาร่วมกันแก้ไข ชุมชนเป็นผู้นำสิ่งที่แก้ไขได้นำไปใช้ "ชุมชนคือผู้ที่กำหนดโจทย์วิจัย" จึงเป็นที่มาของการลงพื้นที่ของนักวิจัยภาควิชาพัฒนาการเกษตร เพื่อ ค้นหาโจทย์วิจัยร่วมกับชุมชน โดยเลือกพื้นที่ในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง เนื่องจากเล็งเห็นความสำคัญของพื้นที่เกษตรกรรมในพื้นที่ดังกล่าว เพราะเป็นพื้นที่อู่ข้าวอู่น้ำของภาคใต้ ประชาชนประกอบอาชีพด้านการเกษตรที่หลากหลายตามระบบนิเวศที่มี 4 ระบบ คือระบบนิเวศน้ำเค็ม น้ำจืด น้ำกร่อยและระบบนิเวศน้ำเปรี้ยว (ดินพรุ) การลงพื้นที่เพื่อศึกษาความความเข้าใจพื้นที่ให้ได้มากที่สุดจึงเกิดขึ้น เพื่อร่วมกันหาแนวทางโจทย์วิจัยร่วมกับคนในชุมชน
-
เยี่ยมชมระบบโทรมาตรที่ควบคุมระบบชลประทานทั้งหมดในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง ในโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช
- เยี่ยมชมพื้นที่ตำบลการะเกด อ.เชียรใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช รับฟังการบรรยายการบริหารจัดการน้ำเพื่อเกษตรกรรมนาข้าวของกลุ่มเกษตรกร
- เยี่ยมชมโครงการผลิตข้าวครบวงจรตามแนวพระราชดำริ ต.ป่าระกำ ภายใต้ความรับผิดชอบของศูนย์วิจัยข้าวจังหวัดนครศรีธรรมราช และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
กระบวนการวิจัยจะเกิดขึ้นโดยนักวิจัยจากภาควิชาพัฒนาการเกษตร เป็นผู้ดำเนินกระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วม มีการวางแผนการวิจัย การดำเนินการวิจัย กระตุ้นให้ชุมชนมีส่วนร่วม ให้ชุมชนได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน เกิดกระบวนการเรียนรู้ โดยที่ชุมชนสามารถพัฒนาตนเองให้เกิดความเข้มแข็งและการพัฒนาอย่างยั่งยืน
=+=+=+=+=+=+=+=+=+=+=+=+=+=+=+=+=+=+=+=+=+=+=+=+=+=+=+=+=+=+=+=+=+=+=+=+=+=+=+
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « เยาวชนนักวิจัย ผลงานสร้างสรรค์ขอ...
- ใหม่กว่า » Qอาสา2555
ร่วมแสดงความเห็นในหน้านี้