ความเห็น: 1
ยุทธศาสตร์ก้าวทันโรค Early Motility Syndrome (EMS)
จากการบันทึกก่อนหน้านี้ เรื่อง สถานการณ์โรคกุ้งที่พบในปี 2554
วันนี้มีโอกาสเข้าฟังสัมมนาวิชาการ เรื่อง ยุทธศาสตร์ก้าวทันโรค Early Motility Syndrome (EMS) ของบริษัท เอเชี่ยน ฟีด จำกัด
หัวข้อสัมมนา ดังนี้
1. โปรโตซัวก่อโรคตายด่วนในกุ้งขาว
2. วิการทางจุลพยาธิวิทยาของโรคตายด่วนในกุ้งขาวที่เลี้ยงในประเทศไทย
3. การควบคุมและการป้องกันโรคกุ้ง
4. การพัฒนาและการควบคุมคุณภาพอาหารกุ้ง
วิทยากรบรรยาย ประกอบด้วย
1. รศ.ดร.จิรศักดิ์ ตั้งตรงไพโรจน์
2. คุณพรชัย อนุชาติ
3. คุณศิรินาฎ หอมกลิ่น
ชึ่งจากการฟังสัมมนาสามารถสรุปจากประเด็นต่างๆ ดังนี้
สรุปภาวะโรคตายด่วน Early Motility Syndrome (EMS) โดยรศ.ดร.จิรศักดิ์ ตั้งตรงไพโรจน์ ดังนี้
1. โรคนี้เกิดจากเชื้อโปรโตซัวในกลุ่ม Microsporidia ที่ทำลายเม็ดเลือดกุ้ง ก่อให้เกิดภาะวะเม็ดเลือดกุ้งถูกทำลาย (Haemocytic Parasitosis)
2. ไม่พบรอยโรคที่บ่งบอกถึงการติดเชื้อแบคทีเรีย โดยเฉพาะที่ตับและตับอ่อนของกุ้งที่ป่วย
3. โรคนี้เกิดได้กับกุ้งทุกชนิด โดยเฉพาะกุ้งขาวและกุ้งกุลาดำ
4. โรคนี้ทำให้กุ้งทุกขนาดป่วยและตาย จะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับปริมาณเชื้อที่แบ่งตัวอยู่ในเม็ดเลือดและปริมาณเม็ดเลือดที่ถูกทำลาย รวมทั้งความแข็งแรงของตัวกุ้งเอง
5. กุ้งที่ติดเชื้อนี้แต่ไม่ตาย จะเติบโตช้าและกล้ามเนื้อขาวขุ่น
6. โรคนี้ทำให้เกิดผลเสียอย่างยิ่งต่ออุตสาหกรรมกุ้ง โดยทำให้กุ้งมีอัตรารอดลดลงต้องจับกุ้งก่อนกำหนด (ตัวเล็ก) และคุณภาพไม่ได้มาตรฐาน
7. ควรร่วมมือกันเฝ้าระวังโรคนี้อย่างใกล้ชิดทุกครั้งที่มีกุ้งป่วย ควรรีบส่งกุ้งยังห้องปฏิบัติการที่มีผู้ชำนาญในการตรวจโรคกุ้งโดยเฉพาะ เพื่อลดต้นทุนการผลิตอันเนื่องมาจากกุ้งเป็นโรค
8. ควรเลือกใช้ปัจจัยการผลิตอย่างรอบคอบและใช้อย่างถูกต้อง
9. คัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ที่มีคุณภาพ ควบคุมพาหะต่างๆ ให้เหมาะสม
สรุปการควบคุมและป้องกันโรคกุ้ง โดยคุณพรชัย อนุชาติ ดังนี้
1. การควบคุมโดยระบบ Biosecurity อาจจะป้องกันโรคไม่ได้ 100% แต่ก็ลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ลงได้มาก
2. คัดเลือกลูกกุ้งที่มีคุณภาพและปลอดเชื้อ
3. ลดปริมาณเชื้อในน้ำและควบคุมคุณภาพน้ำ
4. ควบคุมอาหารในช่วงที่อากาศเย็น
5. ใช้โปรไบโอติก
6. เน้นการควบคุมป้องกันแบบองค์รวม ดำเนินการหลายวิธีพร้อมกัน เช่น ระบบการเลี้ยง และการเสริมสุขภาพกุ้ง
สรุปการพัฒนาและควบคุมคุณภาพอาหารกุ้ง โดยคุณศิรินาฎ หอมกลิ่น ดังนี้
1. การคัดเลือกวัตถุดิบเพื่อสร้างความน่ากิน โดยใช้แหล่งโปรตีนจากสัตว์และโปรตีนสกัด ใช้แหล่งโปรตีนจากพืชโดยใช้วัตถุดิบที่มีกากและเถ้าต่ำ และมีการใช้สารเสริม เช่น Lysoforte และ Aquaform
2. การเฝ้าระวังการตรวจรับ-การใช้วัตถุดิบ เพื่อป้องกันการปนเปื้อนสารเมลามีน Aflatoxin และ Etoxiquin และมีการตรวจสอบคุณภาพทางเคมีโดยห้องปฏิบัติการ
3. ผลิตได้ตามคุณภาพที่ต้องการ ตามขั้นตอนประกันคุณภาพ
4. อาหารดี มีคุณภาพ มีกลิ่น ขนาดเม็ด และการละลายน้ำของเม็ดอาหารได้ตามมาตรฐาน
5. มุ่งเน้นพัฒนา เพื่อประสิทธิภาพการกินอาหาร ADG สูง FCR ต่ำ สร้างภูมิคุ้มกัน ลดการทำงานของจุลินทรีย์ที่ก่อโรคในลำไส้ เพื่อป้องกันลำไส้และตับและตับอ่อนของกุ้งอักเสบ
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « แมงกะพรุนถ้วยหลากสีสัน
- ใหม่กว่า » บ้านแคบในโปแลนด์
25 ตุลาคม 2555 10:33
#81400
เป็นกำลังใจให้คะ