ความเห็น: 1
ก้าวย่างทางเดิน ลืมเลือนคืนวัน ดั้นด้นไป: เอาไปวัด ๑ [C]
ถ้าถามว่าเอาอะไรไปวัด ก็ต้องตอบว่าเอาชั้นไปวัด
แต่ไม่ใช่ชั้นเปล่านะครับ ในชั้นต้องมีข้าวปลาอหาร ขนมของหวานไปถวายเพลพระ
อย่าลืมเอาฝาไปด้วย
อิอิอิ
อาทิตย์ที่แล้วที่หน่วยระบาดมี tutorial เกี่ยวกับการจัดเอกสารวิทยานิพนธ์ตามรูปแบบของหน่วยให้กับนักศึกษาทั้ง ป.โท ป.เอก และ ป ปลาแต่ตาไม่กลม
สำหรับรูปแบบวิทยานิพนธ์นั้นทางบัณฑิตวิทยาลัยเองก็ได้กำหนดรูปแบบกลางเอาไว้สำหรับ หลักสูตรไหนที่ไม่ได้กำหนดรูปแบบก็ให้ใช้รูปแบบของส่วนกลาง
แต่ในทางปฏิบัติแล้ว แม้ว่าแต่ละหลักสูตรจะกำหนดรูปแบบวิทยานิพนธ์ของหลักสูตรเองแต่ ก็ยังต้องอิงอยู่กับรูปแบบกลางของทางบัณฑิตวิทยาลัย จะมีแตกต่างก็เฉพาะรูปแบบตัวอักษร (font) รูปแบบการเขียนอ้างอิง เท่านั้น แต่ส่วนอื่น ๆ นั้น เมื่อนักศึกษา/ หลักสูตรต่าง ๆ นำส่งวิทยานิพนธื หรือที่เรียกว่าเล่มดำ ให้กับบัณฑิตนั้น จะต้องผ่านการตรวจสอบรูปแบบจากทางเจ้าหน้าที่รังวัดของบัณฑิตฯ ซะก่อน นอกจากรังวัดแล้วยังต้องตรวจสอบรูปแบบทั้งนอกทั้งใน ให้เป็นไปตามที่บัณฑิตฯ กำหนด ระยะจิปาถะ ต้องเอาไปวัดหมด ไม่เหลือ
ทางหน่วยระบาดฯ นั้นแต่เดิมใช้ตัวอักษร Courier New ขนาด 10 pt เป็นตัวอักษรสำหรับวิทยานิพนธ์ แต่มาเมื่อ ปี ๒ ปีที่แล้วทางหน่วยระบาดฯ ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบตัวอักษรมาใช้ Time New Roman ขนาด 12 pt แทนตัวอักษรแบบเดิม
การจัดรูปแบบเอกสารนั้นต้องจัดให้เป็นรูปแบบเดียวกันทั้งเล่ม ไม่ว่าจะเป็นหัวข้อหลัก หัวข้อย่อยต่าง ๆ ต้องมีรูปแบบที่เหมือนกัน ทั้งตัวอักษร ขนาดตัวอักษร ระยะเยื้อง ....
ทางหน่วยระบาดฯ ก็เลยจัด tutorial ให้กับนักศึกษา (ใหม่) ปีการศึกษา ๒๕๕๘ ที่กำลังจะหมดปีปฏิทินในอีกไม่กี่เดือน ไม่กี่วัน
ปีการศึกษา ปีงบประมาณ เริ่มต้นเมื่อปลายปีปฏิทิน ก็ งง งง เล็กน้อย
5555++++
ทำอย่างไรให้ใช้ ๓ คลิก ก็สร้างสารบัญได้แล้ว อีก ๓ คลิก ก็ปรับปรุงสารบัญได้ หากมีการเปลี่ยนแปลงเลขหน้า ตำแหน่งหัวข้อ บทที่ ต่าง ๆ
การทำแบบนี้ได้ต้องมีการกำหนดรูปแบบที่แน่นอนเอาไว้ก่อน หรือที่เรียกว่า template ทางหน่วยระบาดฯ เองได้จัดทำแม่แบบ (template) สำหรับวิทยานิพนธ์เอาไว้ให้นักศึกษาเพื่ออำนวยความสะดวกในการจัดทำรูปเล่ม ไม่ต้องปวดหัว ตัวร้อนมากนัก
แต่ก็ยังไม่วายต้องเอาไปวัด
ต้นฉบับของแม่แบบเอกสารนั้นจัดทำขึ้นโดยอาจารย์วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์ เมื่อหลายปีที่ผ่านมา ถ้านับนิ้วมือก็น่าจะไม่พอนับครับ
ตอนนั้นจำได้ว่าสร้างจากเวิร์ด ๙๗ ซึ่งตอนนี้รุ่นของเวิร์ดพุ่งไปไหนต่อไหนแล้ว
แต่ยังคงต้องไปวัด
การจัดรูปแบบนั้นยังไม่เท่าไหร่ครับ ที่ปวดหัวหนัก เสียเบี้ยมากก็คือ ระยะต่าง ๆ นั่นแหละครับ
สำหรับทางบัณฑิตวิทยาลัยเองก็มีจัดอบรม การเขียนนิพนธ์ต้นฉบับ (Manuscript) ไปแล้วเมื่อปลายเดือนมิถุนายน ๒๕๕๘ ที่ผ่านมา
ส่วนข้อกำหนดต่าง ๆ นั้นสามารถอ่านได้จากที่นี่ครับ แต่กว่าผมจะหาหนน้านี้เจอ ผมหลงทางอยู่ที่หน้าแรกนานพอสมควรครับ รูปเยอะด๊ สวย ๆ แต่หาเนื้อหาที่ต้องการไม่ค่อยเจอ ว่างั้นครับ
อิอิอิ
เอาเป็นว่าอ่านกันเล่น ๆ เพลิน ๆ พลาง ๆ นะครับ จะปวดหัวกับการไปวัดอย่างไร ค่อยไปวัดกันบันทึกหน้า
บันทึกนี้แค่น้ำจิ้มนะลุงงงงงงงง
อิอิอิ
เราเอง
เพลง: ม. ให้อะไร
ศิลปิน: พงษ์สิทธิ์ คำภีร์
ฉันเขลา ฉันเยาว์ ฉันตะลึง
ฉันจึงมาหาความหงอย
ฉันฝันทุกวันฝันมากมาย
สุดท้ายฉันหงายหลังตึง
เอ้า ตื่น ๆ ๆ
คิดถึงเพลงนี้อีกครั้งครับ
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « ก้าวย่างทางเดิน ลืมเลือนคืนวัน ด...
- ใหม่กว่า » ก้าวย่างทางเดิน ลืมเลือนคืนวัน ด...
04 กันยายน 2558 22:01
#103763
ชั้นว่างก็มี นะน้า คือชั้นเรียนวันเสารฺฺ์กะ อาทิตย์ หรือตอนที่ไม่มีเด็ก ๆ ไป รร
ไชโย เด็ก ๆ เลิกเรียนตอนบายสองหรือบ่ายสามไม่รู้ ส่วนเวลาที่เหลือนั่งเล่น เฟส 555