ความเห็น: 2
ก้าวย่างทางเดิน ลืมเลือนคืนวัน ดั้นด้นไป: เอาไปวัด ๘ [C]
บันทึกในซีรีย์เดียวกัน
ก้าวย่างทางเดิน ลืมเลือนคืนวัน ดั้นด้นไป: เอาไปวัด ๑
ก้าวย่างทางเดิน ลืมเลือนคืนวัน ดั้นด้นไป: เอาไปวัด ๒
ก้าวย่างทางเดิน ลืมเลือนคืนวัน ดั้นด้นไป: เอาไปวัด ๓
ก้าวย่างทางเดิน ลืมเลือนคืนวัน ดั้นด้นไป: เอาไปวัด ๔
ก้าวย่างทางเดิน ลืมเลือนคืนวัน ดั้นด้นไป: เอาไปวัด ๕
ก้าวย่างทางเดิน ลืมเลือนคืนวัน ดั้นด้นไป: เอาไปวัด ๖
ก้าวย่างทางเดิน ลืมเลือนคืนวัน ดั้นด้นไป: เอาไปวัด ๗
จากบันทึกที่ผ่านมา ๗ บันทึก ก็คงพอจะมองเห็นทางสว่างกันแล้วใช่ไหมครับว่า เราต้องปรับจูนค่าอะไรบ้าง เพื่อให้ได้รูปแบบเอกสารตามข้อกำหนดของทางบัณฑิตฯ
บันทึกนี้ผมปรับส่วนของ Header อีกนิดครับ โดยทำให้ Header มีเพียงบรรทัดเดียว จากเดิมที่มี ๒ บรรทัด
หากเราเข้าไปในส่วนของ Header (หรือแม้แต่ส่วน Footer) โดยค่าปกติแล้ว ทั้ง Header และ Footer จะมีเพียงบรรทัดเดียว แต่เมื่อเราสั่งให้ใส่เลขหน้าลงไปในส่วนของ Header หรือ Footer เวิร์ดจะทำการปัดบรรทัดลงมาอีก ๑ บรรทัด โดยให้บรรทัดที่มีเลขหน้าอยู่บรรทัดแรก
เมื่อเวิร์ดปัดบรรทัดว่าง ๆ ลงมาอีก ๑ บรรทัด ผมก็จัดการลบทิ้งซะ ให้เหลือบรรทัดในส่วนของ Header เพียงบรรทัดเดียว คือบรรทัดที่มีเลขหน้าเท่านั้น ส่วนอื่น ๆ ของเอกสารยังใช้การตั้งค่าแบบเดียวกับบันทึกที่แล้วครับ คือ
Footer = 0.5" from edge
Header = 1.0" from edge
Bottom = 1.0"
Top = 1.5"
Left = 1.5"
Right = 1.0"
Paragraph: Spacing before =0pt , After = 10pt
ตัวอักษร TH sarabunPKS ขนาด 16
Footer มีบรรทัดเดียว
ระยะบรรทัด (Line spacing) Multiple At 1.15)
ส่วนของข้อความ กำหนดการจัดข้อความ (Text Alignment) เป็น Justified
ส่วนของ Header กำหนดการจัดข้อความ (Text Alignment) เป็นแบบ Right
พิมพ์เอกสารออกมาแล้ววัดระยะ พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงนิดหน่อยครับ
ระยะขอบต่าง ๆ (Top, Left, Right) ยังคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง
เรามาดูส่วนของ Header กันครับว่าหลังจากลบบรรทัดไป ๑ บรรทัด ให้เหลือเฉพาะบรรทัดที่มีเลขหน้าอยู่เท่านั้น ระยะต่าง ๆ เปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง
วัดระยะจากขอบกระดาษบนสุดลงมาถึงเส้นทึบแนวนอนเหนือข้อความ "Only 1 line Header 1" วัดระยะได้ 8 หุน เท่าเดิม ระยะนี้คือ ระยะขอบบนของ Header ที่ตั้งค่าเอาไว้ว่า Header = 1.0" from edge ระยะนี้คงที่ไม่เปลี่ยนแปลง
วัดระยะจากขอบกระดาษบนสุดลงมาถึงเส้นทึบ เหนือข้อความบรรทัดแรก (ก ข ฃ ค ฅ ...) วัดระยะได้ 12 หุน หรือเท่ากับ 1.5" หรือเท่ากับระยะขอบบน (Top) ที่กำหนดไว้ให้ Top = 1.5"
ถ้าสังเกตดูดี ๆ จะเห็นว่า เส้นทึบเส้นนี้จะทับซ้อนกับเส้นประอีกเส้นหนึ่งอยู่ ทั้งสองเส้นเป็นเส้นที่ผมขีดขึ้นเอง เส้นทึบแทนขอบเขตของ Top ส่วนเส้นประแทนขอบเขตล่างของ Header
นั่นคือ ขอบเขตล่างของส่วน Header ปกติแล้วจะเป็นตำแหน่งเดียวกับระยะขอบบน (Top) แต่หากมีกรณีที่ทำให้ส่วน Header ขยายเพิ่มขึ้นกว่าเดิม ระยะขอบล่างของ Header จะเลยระยะขอบบน (Top) ลงมาอีก ซึ่งครั้งที่แล้ว ส่วน Header มี ๒ บรรทัด ระยะนี้ (จากขอบกระดาษบนสุดลงมาถึงขอบล่างของ Header) วัดได้ 12.5 หุน
ซึ่งเมื่อขยับลงมาด้านล่างอีก ก็จะกินเนื้อที่ส่วนของข้อความให้น้อยลงไปกว่าเดิม
เมื่่อส่วน Header มีเพียง ๑ บรรทัดทำให้ระยะขอบล่าง Header ขยับขึ้นไปจากระยะเดิมอีก 0.5 หุน พื้นที่ส่วนของข้อความจะเพิ่มขึ้นอีก 0.5 หุน
ระยะจากขอบกระดาษบนสุดวัดลงมาถึงเส้นประแนวนอนใต้หมายเลขหน้า (1) วัดระยะได้เท่ากับ 9.5 หุนเท่าเดิม ไม่เปลี่ยนแปลง
เมื่อวัดระยะจากขอบกระดาษด้านบนลงมาถึงเส้นประที่อยู่บนตัวอักษรบรรทัดแรก วัดระยะได้ 12.5 หุน จากเดิมที่ส่วนของ Header มี ๒ บรรทัดวัดระยเดียวกันนี้ได้ 13 หุน นั่นคือเมื่อส่วน Header มีเพียงบรรทัดเดียว บรรทัดแรกของส่วนข้อความก็จะขยับขึ้นไปอีก 0.5 หุน หรือพื้นที่ส่วนข้อความจะเพิ่มขึ้นอีก 0.5 หุน
สำหรับการเปลี่ยนแปลงนี้ต้องดูคู่กับบันทึก ก้าวย่างทางเดิน ลืมเลือนคืนวัน ดั้นด้นไป: เอาไปวัด ๖
เอาเป็นว่า ผมเทียบรูปให้ดูกันด้านล่างก็แล้วกันนะครับ ส่วน Footer จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้างคงต้องยกยอดไปบันทึกหน้าครับ
ระยะขอบต่าง ๆ เมื่อส่วน Header มี ๒ บรรทัด
ระยะขอบต่าง ๆ เมื่อส่วน Header มี ๑ บรรทัด
อิอิอิ
เราเอง
เพลง: นางกวักมหาเสน่ห์
ศิลปิน: สายัณ สัญญา
Other Posts By This Blogger
ความเห็น
ยังครับลุง ยังไม่ตรงตามที่เขาต้องการแป๊ะ ๆ ต้องปรับอีกนิดนึง
แต่กำลังชี้ช่องให้เห็นว่า ควรจะปรับการตั้งค่า ตรงไหนบ้าง ปรับตรงนี้แล้วมันจะกระทบตรงไหนบ้าง
รอชัก (แม่) น้ำเข้าวัดเสร็จก่อน ค่อยมาลองปรับค่าให้ได้ตรงกับของวัด โดยตั้งค่าต่าง ๆ ให้เป็นไปตามที่วัดกำหนด
อิอิอิ
เราเอง
11 September 2015 05:39
#103813
น้า เราว่าเรากลับไปเรียนอีกรอบกว่า
เพราะน้าจัดการรูปแบบไว้เรียบร้อยแล้ว
แล้วคนรับ ??? เรื่องนี้เขาจะไม่ขอบคุณน้าเหอ 5555