ความเห็น: 0
ตัวเลขอารบิก มาจากการนับจำนวนมุมจริงหรือ?
เราเคยสงสัยกันไหมครับว่าตัวเลขอารบิก เจ้า 1 2 3 4 5 6 7 8 9 0 มันมีที่มาอย่างไร? และบางท่านอาจจะเคยอ่านเจอข้อความ จากการแชร์โพสในเฟสบุ๊ค โพสหนึ่งที่ อ้างว่าการคิดตัวเลขอารบิกที่เราใช้กันนั้น ตัวเลขแต่ละตัวสร้างขึ้นจาก "จำนวนของมุม" ภายในตัวเลข ใช้มาทั้งชีวิต ไม่เคยรู้เลย.... ว่าแต่มันคือเรื่องจริงหรือครับ?
บอกตามตรง...แว๊ปแรก เชื่อแบบสนิทใจ แต่มองดีๆ คิดเล่นๆ มันก็แปลกๆอยู่นะ เช่น เลข 8 ทำไมต้องเป็นสามเหลี่ยม เลข 9 ต้องม้วนหางขนาดนั้นเลยหรือ?....หรือว่าพยายามทำให้ได้จำนวนเหลี่ยมตามนั้น อิๆ
ซึ่งจากที่อ่านๆ ค้นๆถาม "อากู๋" หรือคุณ google ก็เจอที่มา พบว่ามันไม่ใช่อย่าที่เราคิด หรือ เชื่อตามที่แชร์ๆกัน
โดย....ในเพจ "อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์" ได้เขียนไว้ว่า
" ตัวเลขในปัจจุบันที่เราเรียกว่าเลขฮินดู-อารบิกนั้น จริงๆ แล้วมาจากตัวอักขระอินเดียโบราณที่ใช้ในการคำนวณทางคณิตศาสตร์ระหว่างช่วง 200 ปีก่อนคริสตกาลจนถึงศตวรรษที่ 3 ปรากฏอยู่ในบันทึก Bakhshali ซึ่งมีชื่อเสียงมาก จากการที่เป็นบันทึกเก่าแก่ที่สุดทางด้านคณิตศาสตร์และแสดงให้เห็นถึงการใช้เลข
0 ศูนย์ ...
ดูในรูปประกอบ จะเห็นถึงความคล้ายคลึงระหว่างตัวเลขโบราณนี้ กับเลขอารบิกปัจจุบัน
หลังจากนั้น ลักษณะของตัวเลขก็วิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปอีกหลายศตวรรษ และแพร่กระจายไปถึงเปอร์เซียในยุคกลาง และกลุ่มชาวอาหรับได้นำเข้าไปเผยแพร่ในยุโรปในที่สุด โดยปรากฏในบันทึก Codex Vigilanus โดยผลงานของพระชาวคริสต์ในสเปนตอนเหนือ เมื่อปี ค.ศ. 881 ...
จากนั้น ตัวเลขฮินดู-อารบิกนี้ก็ได้ถูกปรับปรุงอีกครั้งในปี 1202 ซึ่งตัวเลข
อารบิกเป็นที่นิยมอย่างมากในยุโรป และในช่วงศตวรรษที่ 15 และ 16 ก็พบว่ามีการใช้กันทั่วไป รวมทั้งใช้เขียนบนหน้าปัดนาฬิกาด้วย ซึ่งเขียนวิธีการเรียงลำดับเลขทั้งหมดเอาไว้
ที่มารูปประกอบ : คู่มือที่ชื่อว่า Ms.Thott.290.2º เขียนโดย Hans Talhoffer
ในปี 1459)
ซึ่งต่อมา พบว่านอกจากจะมีรากฐานมากจากเลขพรามมิโบราณ ยังได้รับอิทธิพลมาจากวิวัฒนาการของการจัดเรียงพิมพ์ตัวอักขระต่างๆ ในยุโรปสมัยนั้นด้วย ดังแผนภูมิเปรียบเทียบในภาพประกอบ ซึ่งจัดทำโดยนักประวัติศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ชื่อ Jean-Étienne Montcula พิมพ์ในหนังสือ Histoire de la Mathematique ในปี ค.ศ. 1757
ที่มารูปภาพ : https://gizmodo.com/no-this-viral-image-does-not-explain-the-history-of-ar-1719306568
จนมาถึงช่วงกลายศตวรรษที่ 18 นั่นเอง ที่ตัวเลขทั้งหมดที่นิยมใช้กันในยุโรปนั้น ได้เปลี่ยนมาเป็นแบบตัวเลขอารบิกในปัจจุบัน ...
ดังนั้นจากที่อ่านๆ ดูก็พบว่า ที่มา หรือ แนวคิดของรูปลักษณ์ตัวเลขอารบิกมันไม่ได้เกี่ยวอะไรกับเรื่องจำนวนมุมภายในตัวเลขแต่อย่างไร....จริงไม่จริงผมยังไม่ขอยืนยัน ความเชื่อ ประวัติศาสตร์ย่อมมีข้อหักล้างเสมอ และอีกอย่างขอฝากไว้ว่า "อย่าพึ่งเชื่อในสิ่งที่เห็น หรืออ่านจากที่เพื่อนแชร์ ขอให้ลองหยุดคิดพิจารณา ตั้งคำถามว่า มันจริงหรือ และ ออกเดินทางค้นหาความจริง"
ขอบคุณที่มา และความรู้ดีๆ จาก : เพจอ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « จิตสาธารณะ...สร้างได้
- ใหม่กว่า » กิจกรรมเชฟกระทะเหล็ก