ความเห็น: 0
เทคนิคการซ่อม Switching power supply (2)
รูปที่ 1
ลักษณะการเสีย ของ switching power supply ที่มักพบได้บ่อยพอจะจำแนกได้ดังนี้
1. ไม่สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับ load ได้อย่างเพียงพอ โดยเครื่องมือมีอาการแสดงให้เห็นคือติด ๆ ดับ ๆ หากใช้ AC Voltmeter วัดแรงดันด้านเอาต์พุตจะได้ค่าที่สูง (ค่าปกติไม่เกิน 100 mV)
สาเหตุ เท่าที่พบคือ 1.1 ตัวเก็บประจุที่ทำหน้าที่กรอง (C10, C11, C12 รูปที่ 1) มีค่าลดลงมากกว่า 20 %
1.2 ความถี่ของการสวิตช์ลดลงเนื่องจากค่าตัวเก็บประจุ (ภายในวงจรที่ทำหน้าที่เหมือนกับ U1 รูปที่ 1) เปลี่ยนไป ซึ่งตัวเก็บประจุนี้ทำหน้าที่ในการกำหนดความถี่
2. ให้แรงดันสูงเกินกำหนด
สาเหตุ เท่าที่พบคือ 2.1 อุปกรณ์ป้อนกลับ (opto-coupler U2 รูปที่ 1) เพื่อควบคุมการสวิตช์บกพร่อง ทำให้แรงดันสูงเกินค่าที่ต้องการ หากมีวงจรป้องกันแรงดันเกิน วงจรส่วนนี้ก็จะทำงาน อีกข้อสังเกตุหนึ่งคือความถี่ของการสวิตช์ขึ้นไปสูงหลายเท่าของค่าปกติ (เช่นปกติวัดความถี่ที่ขดลวดของหม้อแปลงได้ 50 kHz เมื่อผิดปกติความถี่อาจขึ้นไปถึง 250 kHz) และความถี่ไม่นิ่ง
2.2 ความถี่ของการสวิตช์สูงขึ้นเนื่องจากค่าตัวเก็บประจุ (ภายในวงจรที่ทำหน้าที่เหมือนกับ U1 รูปที่ 1) เปลี่ยนไป
3. ไม่ให้แรงดันเอาต์พุต
สาเหตุ เท่าที่พบคือ 3.1 ตัวควบคุมการสวิตช์ (U1 รูปที่ 1) เสีย
ส่วนของการตรวจซ่อมจะได้นำเสนอในตอนต่อไปครับ
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « Hygro-Thermometer: คริสตอลก็เสียได้
- ใหม่กว่า » เทคนิคการซ่อม Switching power su...
ร่วมแสดงความเห็นในหน้านี้