ความเห็น: 15
ที่มาที่ไปของงานวิจัยชุมชน [C]
ย้อนหลังไปเมื่อประมาณปี 43.. Kon1Kon เพิ่งกลับมาทำงานได้ไม่นานนัก.. เราได้รับภาระยิ่งใหญ่ คือให้ดูแลหลักสูตรสิ่งแวดล้อมศึกษา โดยมีอาจารย์อยู่เพียง 2 ท่าน..คือ Kon1Kon กะ คนอีกคนหนึ่ง.. (ซึ่งเป็นกัลยาณมิตรกันจนมาถึงปัจจุบัน).. เริ่มต้นจากงงงันสุดๆ ..(จบมาคนละเรื่องกันเลย).. แต่ความที่มีใจให้ ก็เลยคิดว่าลองดูกันซักตั้ง..
เราสองคนนั่งจับเข่าคุยกันปรึกษาหารือกันตลอด ..ไปดูงานด้วยกัน..แม้กระทั่งข้ามน้ำข้ามทะเลไปเพิ่มพูนความรู้ที่อังกฤษโน่น.. แบ่งกันศึกษาค้นคว้าตำราต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง.. คุยกะคนโน้นคนนี้ ปรึกษากันทุกวัน วันละหลายๆ ครั้ง ช่วยกันวางแนวทาง และช่วยกันแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาตลอด ส่วนหนึ่งที่เราทำก็คือวางแผนวิชาที่จะสอนทั้งหมดร่วมกัน เราตั้งใจให้นศ.ได้ประสบการณ์จริง มากกว่า นั่งเรียนในห้องแคบๆ.. จึงเป็นปรัชญาของเราตลอดมาว่า นศ. ต้องเข้าไปสัมผัสปัญหาจริงในพื้นที่..
ตอนนั้นวิชาทุกวิชาในหลักสูตร เราจับมาบูรณาการกันหมด โดยใช้ Area-based เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอน ทุกปีนักศึกษาจะต้องเข้าศึกษาในพื้นที่ชุมชนใดชุมชนหนึ่ง ใช้กระบวนการวิจัยตามวิชาระเบียบวิธีวิจัย ใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลตามวิชาชุมชนและทรัพยากรฯ นำปัญหาที่พบเจอมาจัดใช้เป็นฐานเพื่อพัฒนากระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษาในอีกวิชา.. นักศึกษาทุกคน โดยเฉพาะในรุ่นแรกๆ เข้าใจถึงความจำกัดของ Resources ที่เรามี แต่ที่น่าปลื้มใจก็คือ นศ. ทุกคนให้ความร่วมมือในการตั้งใจทำหน้าที่ของตนเป็นอย่างดี..
เนื่องจากการเน้นการปฏิบัติเป็นจุดสำคัญในการจัดการเรียนการสอน..ดังนั้น งานวิจัยที่นศ.จะทำเป็นวิทยานิพนธ์ จึงเป็นแนววิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเป็นส่วนใหญ่.. ช่วงนั้นพันธมิตรเรามีหลายคน ที่มาช่วยกัน Comment งานของนศ. รุ่นแรกๆ ที่เรากำลังจัดทิศทางให้ลงตัว...เช่น ผศ.ดร.อุทัย ดุลยเกษม อ.สนั่น เพ็งเหมือน รศ.ดร.สมยศ ทุ่งหว้า ผศ.ดร.อาแว มะแส ผศ.สุพจน์ โกวิทยา รศ.ปราณี ทองคำ ผศ.ดร.นัยนา ศรีชัย อ.อัมพร ศรประสิทธิ์ เป็นต้น.. การทำงานในช่วงแรกช่วยให้เราจัดรูปกระบวนให้เข้าที่เข้าทางและเป็นที่มาของการทำวิจัยเชิงปฏิบัติการและการวิจัยแบบมีส่วนร่วม..ซึ่งเป็นความสนุกสนานและความถนัดของหน่วยวิจัยเราในปีต่อๆ มา
งานวิจัยที่เราสะสมองค์ความรู้มา จึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับการทำงานร่วมกับชุมชนและโรงเรียนในการ:· สร้างกระบวนการเรียนรู้
· ทำวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม
· พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น
· บูรณาการหลักสูตร
· พัฒนาแหล่งเรียนรู้
· พัฒนาการมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อม
ทั้งหมดนี้ มีปัจจัยเสริมที่ทำให้ทำงานได้สนุกสนาน น่าจะได้แก่
· มีกัลยาณมิตรในการทำงาน (team working)
· มีเครือข่ายที่ดี (Networking)
· มีทรัพยากรพอสมควร ไม่สำคัญว่าจะต้องมาก (Enough resources to function main mission)
· มีอำนาจในการบริหารจัดการด้วยตัวเองได้พอสมควร (Appropriate authority)
· และที่สำคัญ...ต้องมีใจ (Willing)
ทั้งหมดนี้ เริ่มต้นมาจาก Kon2Kon เท่านั้นจริงๆ...
กิตติกรรมประกาศ: คนอีกคนที่ร่วมบุกเบิกฝ่าฟันกันมา ก็คือท่าน ผศ.ดร.เยาวนิจ กิตติธรกุล ซึ่งต้องขอประกาศความดีและยกเครดิตให้ท่านไว้ ณ ที่นี้ด้วยค่ะ
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « สิ่งดีๆ กับการทำวิจัยกับชุมชน
- ใหม่กว่า » วิจัยที่ปริก--
ความเห็น
เห็นชอบอีก 1 เสียงค่ะ ทำอะไรด้วยใจ ใจกำหนด ใจสั่งมา ... ทำอะไรๆ เพราะมันระเบิดมาจากข้างใน ต้องประสานใจ (แฟลตบุคลากรคณะแพทย์ ใช่เลย!!!) ถ้าไม่ได้ดั่งใจ ก็ต้องทำใจ...ละกัน :)
- ขอบคุณ อาจารย์
ค่ะ..ที่ชอบชื่อบล็อก..
- ชอบของคุณ
ด้วย..ที่บอกว่า "ถ้าไม่ได้ดั่งใจ ก็ต้องทำใจ.." จริงเยย...
- ขอบคุณอาจารย์
ด้วยค่ะ..ถ้ามีอะไรจะตักเตือนสั่งสอน..ก็กรุณาชี้แนะด้วยนะคะ..ขอคารวะผู้อาวุโสกว่าด้านประสบการณ์ไว้ล่วงหน้าเลยค่ะ..
CORIN ได้รับภารกิจพิเศษจากท่านรองสุรพล ให้เป็นหน่วยงาน Area-based Research
ที่ผ่านมา การประชาสัมพันธ์ของสถาบัน ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากไม่ได้มีการวางตัวบุคลากรด้านนี้เอาไว้
ปัจจุบัน ก็ยังคงเหมือนเดิม...แต่ดีที่มี share.psu เป็นช่องทางหนึ่งที่ให้ประชาสัมพันธ์ในนามบุคคลได้
สถาบันฯ สนับสนุนนักศึกษา และนักวิจัย ที่สนใจโจทย์วิจัยงานในโครงการที่สถาบันดำเนินการอยู่ค่ะ หรือสอบถามรายละเอียดโดยตรงที่เบอร์ภายใน 2323 นะคะ
**สนับสนุนทั้ง ข้อมูล พื้นที่ โจทย์วิจัย มีที่อยู่ และทีมงานภาคสนามคอยดูแลค่ะ***
กลับมาทักทายในฐานะ แฟนพันธ์แท้หลังจากหนีเที่ยวไปหลายวัน เดี๋ยวจะมาเล่าประสบการณ์ที่ไปหนีเที่ยวมาฝากนะก้าบ
![]() |
เห็นด้วย 100% ครับว่า จะทำอะไรทุกอย่างควรทำด้วยใจ งานวิจัย ก็ต้องใช้ ใจ ในการทำงาน งานการเรียนการสอน ก็ต้องใช้ ใจ ในการทำงานเช่นกันเนอะ
ถ้าผู้สอนไม่มี ใจ ในการสอน ผู้เรียนก็คงจะมี ใจ ในการเรียนยาก ในทำนองเดียวกัน ถ้าผู้เรียนไม่มี ใจ ในการเรียน ผู้สอนก็ต้องทำ ใจ สอนให้ได้ดีที่สุด (มันทำนองเดียวกันยังไงเนี่ย ???)
- ชอบมากเลยค่ะ"และที่สำคัญ...ต้องมีใจ (Willing)"
- ขอบคุณสำหรับแผ่น CD โยคะ กำลังต้องการมากถึงมากที่สุด เพื่อนที่ทำงานเห็นชอบด้วยละ ขออนุญาต copy ให้เพื่อนด้วยนะคะ
- ขอบคุณมากค่ะ
CORIN มีทีมงานที่เข้มแข็งอยู่แล้ว..และตอนนี้ก็มีน้อง คอยบอกเล่าเรื่องราวถ่ายทอดกับประชาคมมอ. อยู่อีกทั้งคน..รับรองไปโลดแน่ค่ะ..
ตอบคุณไม่แสดงตน..
- ช่ายเลย..ทำอะไรก็ต้องใช้ใจ.."แต่ถ้าทำแล้วไม่ได้ดั่งใจ ก็ต้องทำใจ"..ยืมคำพูดของคุณ ศศิธร (สำนักวิจัยและพัฒนา) มาค่ะ..
ตอบน้อง
- ดีใจที่กลับมาแล้ว..อ่านเรื่องเล่าที่หนีเที่ยวไปแล้วหนึ่งเรื่อง..ยังรออ่านเรื่องต่อๆ ไปอีกนะจ๊ะ..น้องสาว..
ตอบพี่อัมพร (วันนี้ copy รูปมาใส่ไม่ได้ ไม่รู้ทำไมอ่ะค่ะ ของนู๋แป้นยังก๊อปได้เลย)
- ชอบ CD เหรอคะ ดีใจจัง..ส่งไปให้กัลยาณมิตรเป็น token เล็กๆ น่ะค่ะ..และดีใจมากที่เป็นประโยชน์นะคะ..^_^
![]() |
- อ๊า..มีผู้ที่เข้าพื้นที่เดียวกะเราด้วย...
- งานของเราเป็นแค่งานเล็กๆ ของอาจารย์สองคนกับพันธมิตรหลายท่าน..และนศ.ที่เต็มใจ... เราก็ทำได้ตามกำลังของเราเท่านั้นค่ะ...ไม่ใหญ่ไม่โตอะไร..ลองผิดลองถูกกันไปตามเรื่อง..
- แต่น่าเสียดายค่ะ..ตอนหลังหลักสูตรนี้ถูกยุบไปซะแล้ว..และคนที่ไม่ได้อยู่ใน field ลักษณะนี้ก็ไม่ค่อยเห็นความสำคัญและไม่ค่อยเข้าใจธรรมชาติของงานแบบนี้เท่าไหร่ค่ะ... ตอนนี้ก็เลยทำเท่าที่ทำได้ตามข้อจำกัดของเราค่ะ..
ดีใจที่กลับมาอีกครั้ง คะ ก็ อย่างว่า หากใจมา ความรักกับการเดินทาง แห่งการวิจัยก็บังเกิดนะคะ
โชคดีที่อาจารย์ได้เพื่อนดีสามารถบูรณาการความรู้ที่มี พร้อมกการเปิดโลกแห่งการเรียนรู้ให้กว้างไกล
เมื่อไรเราจะโชคดีแบบนี้บ้างนะ 5555
02 ธันวาคม 2550 10:17
#3298
ชอบชื่อ Weblog ครับ ....วิ..จัย..ใจ....
ใจนี่สำคัญจริงๆ ครับ ไม่ว่าจะทำอะไร ถ้าเริ่มจากใจ ก็จะไปได้ด้วยดีทั้งเนื้องานและคนทำงาน