อ่าน: 2873
ความเห็น: 3
ความเห็น: 3
zotero: เครื่องมือจัดการบรรณานุกรม ตอนที่ 3 การเก็บข้อมูลบรรณานุกรม
ใช้ zotero อย่างถูกวิธี ช่วยให้การจัดการบรรณานุกรมเป็นระบบมากขึ้น
เขียนไปได้ 2 ตอน ว่างเว้นไปเป็นเวลานาน
ตอนนี้ zotero ก็ได้พัฒนาไปเรื่อยๆ จนเป็น verion 2.1.10 แล้ว (ตอนที่เขียนแนะนำตอนที่ 1 ยังเป็นเพียง 2.1.3 กระมังครับ) มีอะไรเปลี่ยนไปบ้าง ก็ลองอ่านเอาเองที่ 2.1.10 (Change log) นะครับ
ณ วันนี้(2 พ.ค. 2555)ผ่านไปเกือบ 1 ปี zotero ได้พัฒนาเป็น version 3.0.6 แล้วครับ ดูรายละเอียดได้จาก Zotero 3.0
สำหรับตอนที่ 3 ขอแนะนำการใช้งานเบื้องต้นของ zotero ดังนี้
- เรียกใช้ zotero โดยคลิกที่ตัวอักษร zotero หรือ Z ที่มุมขวาล่างของหน้าต่างของ Firefox จะปรากฎหน้าต่างใช้งานหลักของ zotero ดังรูปที่ 3.1
รูปที่ 3.1 - หน้าต่างในรูปที่ 3.1 แบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักๆ คือ ส่วนที่อยู่ทางซ้ายมือ (คอลัมน์ 1) คือ ส่วนที่แสดง Collections และ Groups ของเอกสาร หมวดย่อยของ Collections และ Groups เรียกว่า Library มีลักษณะเหมือนกับแฟ้มหรือ Folder สำหรับเก็บรวบรวมบรรณานุกรม ส่วนที่เป็นชั้นสูงสุดของ Library ชื่อว่า My Library และสามารถสร้าง sub-library ที่เป็น library ย่อยๆ ลงไปอีกหลายๆ ชั้นก็ได้ การสร้าง sub-library ไว้ใต้ My Library มีจุดเพื่อประสงค์เพื่อจัดแบ่งบรรณานุกรมให้เป็นหมวดหมู่ เวลาเรียกไปใช้อ้างอิง หรือสร้างบรรณานุกรมจะได้ทำได้ง่าย บรรณานุกรม 1 รายการสามารถปรากฎในหลาย library ก็ได้ และหากคลิกที่ My Library ก็จะเห็นข้อมูลบรรณานุกรมของทุกๆ sub-library ถ้ดมาคือ ส่วนที่อยู่ตรงกลาง (คอลัมน์ 2) พื้นที่ส่วนนี้ใช้แสดงรายการบรรณานุกรมตาม Library หรือ Collection ที่ถูกเลือก ส่วนสุดท้าย คือ ส่วนที่อยู่ด้านขวามือ (คอลัมน์ 3) พื้นที่นี้แสดงรายละเอียดของรายการบรรณานุกรมที่ถูกเลือก และในกรณีจำเป็น เราสามารถเพิ่มเติมหรือแก้ไขข้อมูลเหล่านี้ได้โดยตรง
- Collections คือ หมวดหมู่ของข้อมูลที่ไม่ต้องการใช้งานร่วมกับผู้อื่น ส่วน Group libraries หรือ Group ประกอบด้วยหมวดหมู่ของข้อมูลที่ต้องการใช้ร่วมกันหรือแบ่งปันกับผู้อื่น
สำหรับการนำเข้าข้อมูลบรรณานุกรม ทำได้หลายวิธีดังนี้
- อัตโนมัติ (Automatic capturing) เริ่มต้นด้วยการสืบค้นบทความหรือเอกสารที่ต้องการโดยใช้ Firefox เป็น browser เช่น เข้าไปค้นหาข้อมูลใน http://catalog.loc.gov หากเป็นรายการที่สามารถนำเข้าอัตโนมัติได้ ที่ Location bar จะปรากฎเครื่องหมาย ตำรา บทความ ดังรูปที่ 3.2
รูปที่ 3.2
กรณีที่ค้นแล้วพบมากกว่า 1 รายการ zotero ก็สามารถนำเข้าข้อมูลได้ทีละหลายรายการ โดยกรณีนี้ ที่ Location bar จะปรากฎ icon ที่มีลักษณะเป็น folder ดังรูปที่ 3.3
รูปที่ 3.3
เมื่อปรากฎ icon ที่ Location bar ดังรูปทั้งสองข้างต้นแล้ว ให้คลิกที่ icon ดังกล่าว zotero ก็จะเก็บข้อมูลบรรณานุกรมให้โดยอัตโนมัติ สำหรับกรณีที่มีรายการมากกว่า 1 รายการ จะปรากฎหน้าต่าง(ดังรูปที่ 3.4)ให้เลือกรายการที่ต้องการนำเข้ารูปที่ 3.4
- นอกจากวิธีอัตโนมัติดังกล่าวแล้ว zotero ยังมีวิธีการนำเข้าข้อมูลอีกหลากหลายวิธี ขอยกไปอธิบายในตอนต่อไปนะครับ
สร้าง: 20 พฤศจิกายน 2554 15:07
แก้ไข: 26 มิถุนายน 2555 16:15
[ แจ้งไม่เหมาะสม ]
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « PubGet : ช่วยให้เข้าถึงไฟล์ PDF ...
- ใหม่กว่า » zotero: เครื่องมือจัดการบรรณานุก...
21 พฤศจิกายน 2554 11:00
#71890
ขอบคุณครับ กำลังศึกษาอยู่พอดี