ความเห็น: 0
การพัฒนามนุษย์
วันนี้ได้พบว่า บันทึกเรื่อง มนุษย์พัฒนาได้ ซึ่งเขียนตั้งแต่ 16 พ.ค. มีผู้อ่านล่าสุด (อุไร พุดสี) แสดงความเห็นไว้เมื่อ 05 ก.ย. นี้ เธอ เมนท์มาว่า "มนุษย์พัฒนาได้จึงยากทราบถึงการพัฒนามนุษย์" ก็ขอนำมาขึ้นบันทึกใหม่
ลองอ่าน - ส่วนหนึ่งจากคำปราศรัยของ สตีฟ จ๊อบส์ กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท แอปเปิลคอมพิวเตอร์ และพิกซาร์ แอนิเมชั่น สตูดิโอ ในพิธีรับปริญญาของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด เมื่อวันอาทิตย์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2548 แปลโดย สฤณี อาชวานันทกุล -
...... ผมมองหน้าตัวเองในกระจกทุกวัน แล้วถามตัวเองว่า “ถ้าวันนี้เป็นวันสุดท้ายของผม ผมจะอยากทำสิ่งที่ผมกำลังจะทำวันนี้หรือเปล่า?” แล้วเมื่อไหร่ที่คำตอบคือ “ไม่” ติดกันหลายวัน ผมจะรู้ตัวว่าผมต้องเปลี่ยนอะไรบางอย่างแล้ว
ความสำนึกว่าผมจะต้องตายในไม่ช้า เป็นเครื่องมือสำคัญที่สุดที่ผมใช้ในการตัดสินใจครั้งสำคัญๆ ของชีวิต เพราะเกือบทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นความคาดหวัง ความภาคภูมิใจ ความอึดอัดคับข้องหรือความผิดพลาดทั้งหลาย ล้วนไม่มีความหมายอะไรเลยเมื่อเทียบกับความตาย ชีวิตควรจะเหลือทิ้งไว้เพียงสิ่งที่สำคัญจริงๆ เท่านั้น การตระหนักว่าวันหนึ่งคนเราทุกคนจะต้องตาย เป็นหนทางที่ดีที่สุดที่ผมรู้จักสำหรับการก้าวพ้นความคิดที่ว่า เรามีอะไรที่จะต้องสูญเสีย เราทุกคนตัวเปล่าเล่าเปลือยอยู่แล้วครับ ไม่มีเหตุผลอะไรเลยที่เราจะไม่ทำตามสิ่งที่ใจเราปรารถนา ......
ความเห็นของผม วิธีการถามตัวเองที่ สตีฟ จ็อบส์ ใช้ ก็เป็นการเตือนตนเองไม่ให้ประมาทในการดำเนินชีวิต
พระพุทธองค์ ทรงมีปัจฉิมโอวาทว่า "สังขารทั้งหลาย มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา พวกเธอทั้งหลายจงยังประโยชน์ตนและประโยชน์ท่านให้ถึงพร้อม ด้วยความไม่ประมาทเถิด"
นอกจากเตือนให้ไม่ประมาทแล้ว ความเชื่อในมนุษย์ว่าเป็นผู้ที่พัฒนาได้ ก็เป็นความเชื่อหลักอันหนึ่งของพุทธศาสนา
ทีนี้ก็เข้าประเด็นว่า จะพัฒนาอะไร จะพัฒนาไปทำไม จะพัฒนาอย่างไร คำตอบก็คงเป็นไปตามปัจฉิมโอวาท
มีคนจำนวนมากที่มีโอกาสจะทำอะไรเพื่อยังประโยชน์แก่มนุษย์ชาติ หรืออย่างน้อยก็แก่ชุมชนที่เขาเป็นสมาชิกอยู่ แต่เพราะตัวเองไร้พัฒนาให้มีจิตใจที่ดี โอกาสดีๆเขาจึงไม่ได้ใช้ให้เป็นประโยชน์ ......น่าเสียดายจริงๆ
และก็อยากให้ผู้ที่มีโอกาสมาก (มีตำแหน่งมีอำนาจมาก) จงทำดีให้มาก ตายไป (หรือหลุดจากตำแหน่ง) จะได้ไม่เสียดาย ไม่รู้สึกบาป
สตีฟ จ็อบส์ คือผู้ให้กำเนิดคอมพิวเตอร์แอปเปิล และเครื่องเมคอินทอช ซึ่งเป็นต้นแบบของคอมพิวเตอร์ที่เรากำลังใช้กัน
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « จากเพลง Change Is Now
- ใหม่กว่า » ลอยกระทง-แบบของทางออกของคนในสังค...
ร่วมแสดงความเห็นในหน้านี้