ความเห็น: 6
ชีวิตและงานของนักวิเคราะห์
ประสบการณ์ทำงานที่กองแผนงาน ม.อ. ที่ผ่านมา นับรวมแล้วไม่น้อยกว่า ๒๕ ปี ได้ตัวเลขแล้ว ตกใจ ทำไมมากและรวดเร็วอะไรปานนี้
ยังจำได้ ถึงวันแรกที่เดินเข้ามาทำงานที่กองแผนงาน ซึ่งอยู่ที่ตึกสำนักงานคณะวิทยาศาสตร์ ในปัจจุบัน
ผ่านมาจนถึงวันนี้ ย้อนมองมาที่งาน ในฐานะ นักวิเคราะห์นโยบายและแผน อย่างพวกเราว่ามีอะไรบ้าง
หลายท่านในกองแผนได้บันทึกไว้แล้ว อาทิ
คุณ mandala http://share.psu.ac.th/blog/mandala1
คุณ แดง http://share.psu.ac.th/blog/daeng
คุณ mbunsong http://share.psu.ac.th/blog/outjob
ประมวลภาพรวมแล้ว ได้ข้อสรุปว่า งานโดยปกติของนักวิเคราะห์นโยบายและแผน แบบพวกเรา
ก็มีทั้งเรื่อง จัดทำร่างสารพัดแผน ทั้งแผนระยะยาว ระยะกลาง และระยะสั้น
แล้วก้อ จัดประชุม สัมมนา พิจารณาแผนฯ จนได้ผลงานที่เสร็จออกมา
ก็เรียกกันว่า แผนฯ ๕- ๑๐ ปี แผนกลยุทธ์ แผนพัฒนามหาวิทยาลัย
เช่น แผนพัฒนาฯ มหาวิทยาลัย ระยะต่างๆ ที่เราเรียกกันว่า
แผนฯ ๑๐ หมายถึง แผนฯ ที่วาง/กำหนดในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๕๐ – ๒๕๕๔
( แผนฯ ๙ ก็รอบปี พ.ศ. ๒๕๔๕ – ๒๕๔๙ )
แผนฯระยะสั้น ๑-๓ ปี ได้แก่ คำของบประมาณประจำปี กรอบอัตรากำลัง แผนปฏิบัติการประจำปี
เรื่องเกี่ยวกับ แผนฯ ขณะนี้มี พรบ. มติ ครม. ฯลฯ กำหนดให้ ส่วนราชการต่างๆ ต้องมีงานใหม่
คือ จัดทำ แผนปฏิบัติราชการ ๔ ปี แผนปฏิบัติราชการประจำปี
ซึ่งจะต้องทำให้สอดคล้องกับ แผนบริหารราชการแผ่นดิน ของรัฐบาล
(รายละเอียดจะนำเสนอในบันทึกหน้า)
ประเด็นเกี่ยวเนื่อง คือ โครงการ/กิจกรรมต่างๆ ที่เป็นส่วนประกอบที่จะต้องมีเพื่อบรรลุผลตามแผนฯ
ซึ่งงานเราก็จะเป็นเรื่อง กำหนดโครงการ/กิจกรรม + กลยุทธ์ ต่างๆ
รวมทั้ง อาจต้องวิเคราะห์โครงการต่างๆ ที่คนอื่นเสนอเข้ามา และอาจต้องบริหารความเสี่ยง
เพื่อให้แผนฯ ที่กำหนดบรรลุผลตามวิสัยทัศน์ เป้าหมาย วัตถุประสงค์ ที่ตั้งไว้
ทำเสร็จ ก็ต้องมีติดตามผลการดำเนินงาน คือ ดูว่าเป็นไปตาม เป้าหมาย/วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด ที่กำหนดหรือไม่
ซึ่งมักจะทำในรูปต่างๆ อาทิ ประเมินผลตามแผนฯ ติดตามการใช้งบประมาณ รายงานผลการดำเนินงานตามโครงการฯ
เรื่องการติดตามประเมินผลนี้ เป็นเรื่องที่ถูกมองว่าอ่อนมาก ในกระบวนการของงานราชการ
จึงมีหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง คิดเครื่องมือพร้อมทั้งกำหนดวิธีการใหม่ ๆ ให้ส่วนราชการปฏิบัติ
กลายมาเป็นงานใหม่ของพวกเรา ทุกคน ที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบราชการ
อาทิ กพร มีเครื่องมือ คือ คำรับรองการปฏิบัติราชการ
สำนักงบประมาณ จะมี การเครื่องมือวิเคราะห์ระดับความสำเร็จของการดำเนินงาน
ที่เรียกขานกันว่า PART : Performance Assessment Rating Tool
สมศ. มีเรื่อง การประกันคุณภาพภายนอก
สตง. มี ระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานการควบคุมภายใน
กลายมาเป็น แบบ ปย. / ปอ. ต่าง ๆ
ทั้งหมดนี้ ขึ้นกับว่า งานที่เรารับผิดชอบ จะถูกชักนำให้เข้าไปเกี่ยวข้องด้วยมากน้อยแค่ไหน
ทุกส่วนราชการก็ต้องรับมาปฏิบัติ และรายงานผล ตามระยะเวลาที่เค้ากำหนด ขึ้นกับกระบวนการ หลักการ ของแต่ละเจ้า เค้าอาจให้รายงานเป็นเอกสาร ป้อนข้อมูลผ่านโปรแกรมที่เค้ากำหนดผ่าน web หรือ อื่นๆ และอาจมีการส่งคนมาตรวจ + สอบทานหลักฐานเพิ่มเติม .....
นอกจากนี้ ก็มีงานเบื้องหลังที่รองรับระบบงานข้างต้น
เช่น กระบวนการจัดทำ/รวบรวม/จัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้อง การทำวิจัยสถาบัน เพื่อเป็นข้อมูลอ้างอิง ที่ทำให้ทราบความคืบหน้าของงาน และเป็นหลักฐานประกอบ
มาถึงวันนี้ ทุกกิจกรรม/โครงการ ที่ต้องรายงาน หน่วยงานข้างต้น มักจะต้องมีครบตั้งแต่ เริ่ม วางแผน ดำเนินการ ตรวจสอบติดตาม ประเมินผล แก้ไข แถมยังถามหากระบวนการให้คนอื่นเข้ามามีส่วนร่วมด้วย แบบ P-D-C-A-Par
ดังนั้น การทำงานราชการต่อไปนี้ จึงต้องมีกระบวนการ P-D-C-A-Par กำกับด้วย โดยเฉพาะตอนทำรายงานเพื่อการประเมิน ไม่ว่า หน่วยงานใดจะเข้ามาประเมิน
และแล้วในที่สุด ทุกคนก็ทำงานราชการ แบบมีแผน + บริหารความเสี่ยง + ติดตามประเมินผล + รายงานผล ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วม อย่างเป็นระบบ(เอกสาร)
ชีวิตงานของนักวิเคราะห์ฯ จึงไม่เรียบ ง่าย โรยด้วยดอกกุหลาบ แต่ต้องเขียน และ แสวงหาหลักฐาน อยู่ตลอดเวลา
จบค่ะ ขอทุกท่านมีความสุขกับงานที่ทำต่อไป สู้ตายค่ะ
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « ร่วมช่วยลดภาวะโลกร้อน
- ใหม่กว่า » สาระน่ารู้เกี่ยวกับงบ'แผ่นดิน ปี 52
ความเห็น
ขอบคุณครับ ที่ทำให้ได้รับรู้ ชีวิตและงานของนักวิเคราะห์แผน/นโยบาย
จริงๆแล้วเราก็ประเมินผลการทำงานและปรับปรุงอยู่ตามธรรมชาติอยู่แล้ว เพียงแต่มันไม่อยู่ในรูปแบบเอกสาร ที่บ่งชี้ได้อย่างชัดเจนเท่านั้น
บ่อยครั้งที่เราทำเอกสารตามใจผู้ตรวจสอบมากกว่าที่เราจะใช้กับงานของเราจริงๆ
tacit knowledge บางที่ก็เขียนลงไปตรงๆ ไม่ได้ มันกระทบคนรอบข้างเยอะ
ศิลปะในการแก้ปัญหาบุคคล ยังคงต้องเป็นศิลป์มากกว่าศาสตร์อีกต่อไป
ปุ๊ ศิลปกรรมฯ รายงานตัวค่ะ
ให้ "กำลังใจ" กองแผนนะค่ะ
สู้ สู้...
อ่านแล้วทำให้มีความรู้มากขึ้นกว่าเดิม
ขอบคุณสำหรับข้อมูลที่นำเสนอค่ะ
กด ฟังเพลง
ปุ๊ค่ะ
![]() |
งานทุกชิ้นที่เพิ่มเข้ามาเป็นสิ่งท้าทายในบริบทที่เปลี่ยนไปของสังคมยุคปัจจุบันของพวกเรา แต่ที่ท้าทายกว่าคือจะทำอย่างไรให้หน่วยงานรอบข้างที่เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการทำงานกับเรามีความเข้าใจและเห็นใจเรา
น้องเมตตาขา สีสรรของตัวหนังสือ แต่ละสี มีความหมายนะคะ
ต้องอ่านแบบพิจารณาจัดกลุ่มสี ด้วยจ๊ะ
เห็นด้วย กะ คนธรรมดา ค่ะ ที่เราทำเอกสารตามใจผู้ตรวจสอบมากกว่าที่เราจะใช้กับงานของเราจริงๆ
ทำ เอกสารแบบตามใจผู้ตรวจ เหมือนส่งรายงาน/การบ้านอาจารย์ค่ะ
ขอบคุณมากค่ะ คุณ กลบแสงดาว น้องปุ๊ ศิลปกรรมฯ
ที่บอกว่า อ่านแล้วทำให้มีความรู้มากขึ้นกว่าเดิม พร้อมมอบกำลังใจมาด้วย
จริงค่ะ คุณเสริม ที่ท้าทายกว่าคือจะทำอย่างไรให้หน่วยงานรอบข้างที่เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการทำงานกับเรามีความเข้าใจและเห็นใจเรา
คงต้องผลักดันต่อไป
- พี่ ๆ กองแผนงาน มีงานที่ทำเฉพาะ แต่มามองน้อง ๆ ที่อยู่ตามหน่วยงานในระดับคณะฯ บ้างนะค่ะ ทุกคนจะทำงานจน หัวหมุน ๆ ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้จัดทำรายงานข้อมุล ในแต่ละปีจะไม่เหมือนกัน
- หน่วยงานในระดับมีอย่างมากไม่เกิน 2-3 คน
- ต้องทำงานในหลาย ๆ ด้าน หากจะเน้นเฉพาะด้าน ก็คงจะเป็นไม่ได้
- เมื่อมองในยุคสมัยก่อน การจัดทำรายงานขัอมูลจะไม่มาก เหมือนกับในปัจจุบันนี้ และที่สำคัญ ในแต่ละปีมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการรายงานทุกปี ฐานข้อมูลที่ออกแบบแล้ว ก็จะต้องมีการปรับตลอดเวลา ซึ่งคิดว่า คงที่แล้ว แต่ที่ไหนได้ เปลี่ยนอีกแล้ว
- การเปลี่ยนบ่อย ๆ มีทั้งข้อดี และข้อเสีย
- ที่สำคัญ ฝึกให้การเป็นอาชีพ นักวิเคราะห์ ต้องคิดอยู่ตลอดเวลา แต่ก็ท้าทายดี
04 เมษายน 2551 10:38
#26295
มาอ่านค่ะ แต่ยังไม่ทันอ่าน...ทนไม่ได้ ขอเม้นต์ก่อนแล้วกันนะคะ...สีของอักษร...ทำให้น้องลายตามากค่ะ แดง น้ำเงิน น้ำตาล ดำ....อ่านยากจังค่ะ ...เดี๋ยวมาอ่านใหม่นะคะ