ความเห็น: 2
อบรมหลักสูตร "ผู้จัดการงานสร้างสุของค์กร" (Happy Workplace Manager) รุ่นที่ 3 : ส่งการบ้านครั้งที่ 2
ส่งการบ้านการติดตามการนำความรู้ไปใช้ ครั้งที่ 2
ผ่านไปแล้วสำหรับการอบรมหลักสูตร การพัฒนาผู้จัดการงานสร้างสุของค์กร รุ่นที่ 3 ครั้งที่ 2 ซึ่งจัดระหว่างวันที่ 14 – 16 พฤษภาคม 2557 ณ โรงแรม The Royal Gems Golf Resort จ.นครปฐม เช่นเคย
เนื้อหาในครั้งนี้ ประกอบด้วย
- การจัดความรู้ในงานสร้างเสริมสุขภาวะองค์กร
- แบ่งกลุ่มฝึกปฎิบัติจัดทำแผนการจัดการความรู้ในงานสร้างเสริมสุขภาวะองค์กร
- การประเมินแบบเสริมพลัง: เครื่องมือการเรียนรู้ในงานสร้างเสริมสุขภาวะองค์กร
- แบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติการประเมินแบบเสริมพลัง
- นพลักษณ์ (Enneagram) ฉบับย่อ : เรียนรู้สู่การบริหารทีมงาน
- การใช้เครื่องมือช่วยในงานสร้างสุของค์กร (5+1 Apps for Happy Workplace)
นอกจากนี้ยังมีการให้ตัวแทนผู้เข้าอบรม มาแบ่งความรู้ เกี่ยวกับการนำความรู้ที่ได้จากการอบรมในครั้งที่ 1 ไปประยุกต์ใช้
เหมือนที่เคยกล่าวไว้ว่า ในการอรมหลักสูตรการพัฒนาผู้จัดการงานสร้างสุของค์กร ในแต่ละครั้งนั้น ทางอาจารย์ก็จะมีการบ้านฝากไว้ให้แต่ละคนที่มาอบรม ได้นำกลับไปฝึกทบทวนความรู้ที่ได้รับการเรียนรู้ในแต่ละครั้ง ซึ่งหลังจากการอบรมในครั้งที่ 2 ทางอาจารย์ได้มอบการบ้านไว้ดังนี้
1) ขอให้ท่านจัดทำแผนจัดการความรู้งานสร้างสุขในองค์กร / โครงการของท่าน ตามแบบฟอร์มใบงานที่ได้รับ (งานกลุ่มในกรณีที่มาจากองค์กรเดียวกัน)
2) ขอให้ท่านรายงานผลการนำประเด็นความรู้ที่ได้เรียนรู้ในการฝึกอบรมครั้งที่สองที่ได้นำไปประยุกต์ใช้ในองค์กร/โครงการของท่านแล้ว หรือเสนอแผนหรือแนวทางที่จะนำไปประยุกต์ใช้อย่างน้อย 2หัวข้อต่อไปนี้ (งานเดี่ยว)
- การประเมินผลแบบเสริมพลัง
- 5+1 apps for happy workplace
- นพลักษณ์ขององค์กร
- กิจกรรมสัมพันธ์ กระบวนการกลุ่ม การพัฒนาการเปลี่ยนแปลงจากด้านใน
กำหนดส่งงาน – ภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2557
จากเนื้อหาที่ได้เรียนรู้ในครั้งนี้ ทุกเรื่องที่วิทยากรนำมาถ่ายทอดความรู้ ทุกเรื่องที่ได้ผ่านการฝึกปฏิบัติโดยกระบวนการกลุ่ม รวมถึงเรื่องที่เพื่อน ๆ ต่างนำมาแบ่งปัน ล้วนเป็นสิ่งที่มีประโยชน์มากทั้งสิ้น แต่ถ้าจะให้เลือกนำมา 2 เรื่อง ดิฉันขอเลือก 2 เรื่อง ดังนี้
เรื่องแรก คือ การจัดความรู้ในงานสร้างเสริมสุขภาวะองค์กร
ถึงแม้ว่าเนื้อหาความรู้ที่วิทยากรได้บรรยายในตอนต้น จะเป็นความรู้พื้นฐานของการจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM) ไม่ว่าจะเป็น
- นิยาม KM
- หลักการ KM
- กระบวนการ/วิธีดำเนินการ และ
- เครื่องมือ/เทคนิค
ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นอะไรที่คุ้นเคยมาก่อนแล้ว แต่เมื่อได้ลงมือฝึกปฏิบัติผ่านกระบวนการกลุ่มจากโจทย์ ให้กลุ่มมีการจัดทำแผนการจัดการความรู้ในงานสร้างเสริมสุขภาวะองค์กรโดยให้ศึกษาตัวอย่างการจัดทำแผนการจัดการความรู้อย่างละเอียดในทุกขั้นตอนและหารือกันในกลุ่มโครงการ/องค์กร เพื่อจัดทำแผนการจัดการความรู้ในงานสร้างเสริมสุขภาวะองค์กร
ทำให้มองย้อนกลับมามอง ข้อเสนอโครงการเพื่อประกอบการขอรับทุนสนับสนุนตามโครงการ/แผนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานขององค์กรภาครัฐสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ถึงแม้ว่าโครงการดังกล่าว จะได้รับอนุมัติงบสนับสนุนจาก สสส. ให้ดำเนินการตามโครงการและแผนงานที่ได้เสนอไปในวงเงินถึง 2,902,000 บาท ระยะเวลา และแผนการดำเนินการ 20 เดือน ตั้งแต่ มิถุนายน 2556 –กุมภาคม 2558 แต่โครงการดังกล่าว ไม่ได้มีการนำความรู้ในเรื่องของการจัดการความรู้ โดยเฉพาะกระบวนการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผน เข้ามาใช้ ซึ่งจากความรู้ดังกล่าวที่ได้เรียนรู้มา ดิฉันก็จะนำกลับมาทบทวนปรับแผนที่มีอยู่ ซึ่งคงจะนำรายงานในการบ้านในข้อที่ 2 นอกจากนี้ ก็จะนำความรู้ดังกล่าว ไปถ่ายทอดให้คณะ/หน่วยงาน ที่เข้าร่วมโครงการนำร่อง Happy University ใช้นำเป็นข้อมูลในการจัดทำแผนงานสร้างสุของค์กร เพื่อใช้เสนอของบประมาณจาก สสส. ทั้งนี้เพื่อให้แผน/โครงการดังกล่าว มีความน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ในฐานะที่ดิฉัน เป็นผู้ประสานงานโครงการ Happy University ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก็จะนำเครื่องมือ KM เข้าไปมีส่วนในการให้คำแนะนำต่อหน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการ ในการนำความรู้ดังกล่าวไปใช้ในการออกแบบโครงการ Happy workplace เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เข้าร่วมโครงการ และผู้ทำโครงการเอง
อีกหัวข้อที่น่าสนใจคือนพลักษณ์ (Enneagram) ฉบับย่อ : เรียนรู้สู่การบริหารทีมงาน
ดิฉันเคยมีโอกาสได้รับการอบรมในหัวข้อนพลักษณ์ เมื่อหลายปีมาแล้ว เป็นหลักสูตรที่จัดโดยทีมวิทยากรจากสมาคมนพลักษณ์ไทย ซึ่งเป็นหลักสูตร2วันเต็ม เมื่อได้มาเห็นว่ามีการให้ความรู้ในหัวข้อดังกล่าว โดยวิทยากรของทีม ม.มหิดล ซึ่งใช้เวลาแค่ 2 ชั่วโมง ก็ยังงง ๆ ว่า ในเวลาแค่ 2 ชั่วโมง วิทยากรจะมีกระบวนการอย่างไรที่จะทำให้ผู้เข้าอบรมได้มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องของนพลักษณ์ (ฉบับย่อ)
วิทยากรเริ่มต้นโดยให้เราทำแบบทดสอบนพลักษณ์ (ฉบับสั้น) ซึ่งแบบทดสอบดังกล่าว ประกอบด้วยชุดคำถาม จำนวน 9 ชุด ซึ่งในชุดคำถามแต่ละชุด ก็จะมีหัวข้อย่อย ๆ 6 หัวข้อ แล้วให้เราประเมินตนเองตามหัวข้อย่อยนั้น ซึ่งถ้าหัวข้อย่อยไหน ตรงกับตัวตนของเรามากที่สุด ก็ให้คะแนน 1 ถ้าไม่ใช่ให้คะแนน 0 แล้วให้สรุปรวมคะแนนที่ได้ในแต่ละชุดคำถาม เลือกคะแนนสูงสุด 3 ลำดับแรก จาก 9 ชุดคำถาม ซึ่งอาจแทนหมายถึงลักษณ์ทั้ง 9 แล้วให้เราตัดสินใจเลือกลักษณ์ที่คิดว่าเป็นตัวเรามากที่สุด
หลังจากนั้น ให้แบ่งกลุ่มตามลักษณ์นั้น ๆ ซึ่งในขั้นตอนนี้ สนุกสนานมาก พวกเรามาจากต่างหน่วยงาน แต่เมื่อมารวมกันอยู่ในลักษณ์เดียว รู้สึกเลยว่า มันใช่อะ ตรงกับคำอธิบายถึงบุคลิคภาพของคนแต่ละลักษณ์
ประโยชน์ของศาสตร์นพลักษณ์นี้ นอกจากจะทำให้เราได้รู้จักตัวตนของเราผ่านการเป็นลักษณ์ของเราแล้ว
ยังส่งผลให้เราได้เรียนรู้ทีมงาน เรียนรู้ที่จะทำงานร่วมกันกับคนลักษณ์ต่าง ๆ และที่สำคัญ ในคนหนึ่งคน
สามารถแสดงสามารถตัวตนได้หลายลักษณ์ ขึ้นอยู่กับสถานการนั้น ๆ ด้วย
ซึ่งจากกระบวนการเรียนรู้นพลักษณ์อย่างง่ายนี้ ดิฉันสามารถนำมาปรับใช้เป็นหลักสูตรการเรียนรู้นพลักษณ์อย่างง่ายสอดแทรกในกระบวนการอบรมในหลาย ๆ หลักสูตร เช่นหลักสูตรปฐมนิเทศอาจารย์ใหม่ และหลักสูตรอบรมหัวหน้าภาควิชา
ก็ขอสรุปการส่งการบ้านเดี่ยว ไว้เท่านี้ก่อนนะคะ
เช่นเคย ขอบคุณที่เปิดโอกาสให้ได้เรียนรู้
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « อบรมหลักสูตร "ผู้จัดการงานสร้างส...
- ใหม่กว่า » ขอเชิญเข้าร่วมโครงการ Happy to S...
05 มิถุนายน 2557 14:56
#98511
เย้...แม่ยาม เป็นตัวแทนมาส่งการบ้านในแชร์แล้ว อิอิ
สู้ๆ ต่อไปนะครับ นักสร้างสุขทุกคน
เอิ้ก เอิ้ก
"ใจสั่งมา"