ความเห็น: 0
เมนูยอดฮิต 4 เชื้อ ชี้คุณภาพน้ำดื่ม
ปัจจุบันงานบริการทดสอบวิเคราะห์คุณภาพน้ำ ทั้งน้ำดีและน้ำเสีย ได้รับการตอบรับทั้งจากหน่วยงานราชการภายนอกและเอกชนเป็นอย่างดี และมีแนวโน้มการเติบโตที่ดีมาต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการมุ่งมั่นในการทำตลาดเชิงรุก มีทีมการตลาดของศูนย์เครื่องมือฯ ออกกิจกรรม Road show และ Event อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องมาตลอด รวมทั้งยังมีทีมนักวิทยาศาสตร์กลุ่มงานน้ำ พร้อมคอยให้บริการอย่างเต็มที่ จึงทำให้ฝ่ายบริการฯ โดยพี่ดำขำเร่งออกบริการทดสอบใหม่ ๆ ที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงและเพิ่มขึ้นใหม่ตลอดเวลา ซึ่งในกลุ่มทดสอบจุลินทรีย์ในน้ำ ลูกค้ามีความต้องการทดสอบเชื้ออื่น ๆ นอกเหนือจากที่เปิดให้บริการไว้ และทยอยเปิดให้บริการได้ทันตามความต้องการ
เมนูที่ว่านี้เค้าฮิตจริงๆ สำหรับบริการทดสอบจุลินทรีย์ในน้ำ ซึ่งบริษัทผู้ผลิตน้ำดื่มเพื่อจำหน่าย หรือน้ำดื่ม น้ำกรอง ภายในหน่วยงานและองค์กร ที่ต้องการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำดื่ม โดยตรวจวิเคราะห์ตามมาตรฐานน้ำดื่มกระทรวงสาธารณสุข ว่าน้ำดื่มเหล่านั้นปลอดภัย หรือไม่ปลอดภัย เพื่อขอการรับรองคุณภาพสินค้า และสร้างความมั่นใจให้กับบุคลากร หรือผู้รับบริการของหน่วยงานและบริษัทต่าง ๆ ซึ่ง 4 เชื้อ ดังกล่าวประกอบด้วย Coliform, E.coli, S. aureus และ Salmonella ทั้งหมดรวม 1,400 บาทต่อตัวอย่าง เท่านั้น
สำหรับเกณฑ์น้ำบริโภคในภาชนะบรรจุขวดปิดสนิท (อ้างอิงตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135 พ.ศ. 2534) ถึงคุณสมบัติเกี่ยวกับจุลินทรีย์ จะต้องตรวจไม่พบ E.coli, S. aureus และ Salmonella และ ปริมาณ Coliform < 2.2 MPN/100 ml
สำหรับ Coliform หรือ Total Coliform Bacteria แม้ว่าจะเป็นแบคทีเรียที่ไม่ก่อโรค แต่การพบ coliform ในน้ำ นั่นหมายถึง น้ำอาจมีการปนเปื้อนของอุจจาระ ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ทางด้านสุขาภิบาลอาหารที่ต้องการการแก้ไขโดยเร่งด่วน ซึ่งหากลูกค้ายังกังวล น้ำปนเปื้อนอุจจาระจริงหรือไม่ ควรทดสอบ Fecal Coliform Bacteria เพิ่มเติมให้อุ่นใจ พูดถึงตรงนี้แล้ว สำหรับชื่อ Coliform นอกจากนี้ยังมีอีกคำหนึ่ง ซึ่งใช้เรียกอ้างถึง Fecal Coliform Bacteria คือ Thermotolerant coliform bacteria มีลูกค้าบางรายแจ้งความต้องการทดสอบ coliform ดังกล่าว ดังนั้นจึงหมายถึง การตรวจ Fecal Coliform Bacteria นั่นเองครับ
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « การจำแนกชนิดฟันและกระดูกด้วย EDX
- ใหม่กว่า » BCM เริ่มต้นอย่างไร (2.1)
ร่วมแสดงความเห็นในหน้านี้