comment: 0
ชวนไปดูกล้องตัวใหม่กัน
เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ประเด็นดังกล่าวยังคงเป็น Threats ที่เกิดขึ้นและยังคงอยู่กับเทศกาลวางแผนกลยุทธ์ของ SEC อยู่อีกครั้ง ด้วยเครื่องมือวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่ SEC รับผิดชอบดูแลในการให้บริการเป็นจำนวนมากนั้น ล้วนแล้วเป็นผลงานจากการค้นคว้าวิจัยและพัฒนาโดยอาศัยความรู้และเทคโนโลยีสมัยใหม่ เมื่อองค์ความรู้เติบโตขึ้น เครื่องไม้เครื่องมือวิจัยย่อมพัฒนาและปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพสูงตามเช่นกัน เครื่องมืออันทันสมัยวันนี้เวลาผ่านไปเพียงชั่วอึดใจเท่านั้นเครื่องก็เก่า ช้า ใช้วัดและวิเคราะห์อย่างที่ต้องการไม่ได้ไปเสียแล้ว
กล้องคอนโฟคอล เครื่องมือวิจัยทางวิทยาศาสตร์รายการหนึ่งของ SEC ที่เปิดให้บริการมายาวนานตั้งแต่ปี 2547 แล้วครับ เรียกชื่อง่าย ๆ ให้จำได้ แต่ชื่อเต็มก็คือ Confocal Laser Scanning Microscope: CLSM ซึ่งหากย้อนกลับไปเมื่อ 10 ปี ที่แล้ว เครื่องมือดังกล่าวสร้างความตื่นตาตื่นใจให้นักวิจัยได้ไม่น้อย เพราะด้วยความสามารถของกล้องที่เหนือกว่ากล้องจุลทรรศน์ฟลูออเรสเซ็นต์อยู่มาก สร้างภาพ 3 มิติ ของตัวอย่างขึ้นมาให้อึ้ง ทึ่ง กันมาแล้ว ใครจะไปคิดล่ะครับ ภาพถ่ายที่ดูธรรมดาจากกล้องจุลทรรศน์ทั่วไปเพียงแค่ 2 มิติ จะกลายเป็นงาน 3 มิติ อย่างเดียวกันกับกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิด SEM แถมยังมองเห็นลักษณะโครงสร้างภายในได้อีกด้วย ซึ่งนั่นเป็นผลพวงจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีนั้นเอง
CLSM เป็นกล้องจุลทรรศน์ซึ่งอาศัยเลเซอร์เป็นแหล่งกำเนิดแสง ประกอบด้วย 3 ส่วนสำคัญ คือ กล้องจุลทรรศน์ (Inverted Microscope), Laser Mixer และ Scanner โดยการทำงานทั้งหมดควบคุมผ่านระบบคอมพิวเตอร์
มีลูกค้าและผู้สนใจสอบถึงรายละเอียดการใช้งานเครื่องต่อเนื่องมาตลอด 10 ปี อัตราการใช้งานไม่สูง เน้นงานวิจัยเฉพาะทาง เช่น Cell and Molecular Biology เป็นต้น ดังนั้น หากมองไม่แง่ความคุ้มค่าการลงทุนคงไม่คุ้มแน่ ๆ แต่ยังคงมีความสำคัญในงานวิจัย อย่างนี้การ balance ทั้ง Needs และ Expectation ของลูกค้าจึงไม่ใช่เรื่องง่ายเช่นกัน ซึ่งท้ายที่สุดแล้ว แม้เราจะพยายาม balance ให้ดีเพียงใด Input ที่ใส่ลงไปกลับสร้าง Out put ไม่ได้ตามที่ต้องการ ดังเห็นได้จากเครื่องมือวิจัยจำนวนมากที่ใช้งานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ
จุดเด่นและการประยุกต์ใช้งานของกล้องคอนโฟคอลอยู่ที่ โปรแกรมและซอฟแวร์ที่ถูกออกแบบขึ้นมาเฉพาะเพื่อตอบสนองความต้องการใช้งานของนักวิจัยที่หลากหลาย อาทิเช่น 3D Reconstruction ที่สร้างภาพจำลองชนิด 3 มิติ ได้สมจริงเก็บทุกรายละเอียดของตัวอย่างไว้ครบถ้วน และมี Image Analyzer มาช่วยในการวิเคราะห์ผล ได้ข้อมูลทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณเพิ่มเติม นอกจากนี้จุดเด่นที่ถูกใจนักวิจัยหลาย ๆ คน คือ การเตรียมตัวอย่างทำได้ง่ายและสะดวก ซึ่งการเตรียมตัวอย่างประเภทเนื้อเยื่อจำเป็นต้องตัดตัวอย่างให้บางด้วยเครื่อง microtome ต้องอาศัยทักษะและความชำนาญ แต่เราสามารถลดขั้นตอนนี้ได้ โดยเปลี่ยนมาเป็นตัดด้วยใบมีดกับมือโดยตรง ง่ายไม่ยุ่งยาก
FV300 เป็นกล้องคอนโฟคอลตัวแรกที่ติดตั้งในประเทศไทยที่ PSU เป็นแห่งแรก แต่จริง ๆ แล้วกล้องคอนโฟคอลมีใช้มาก่อนหน้านี้แล้วครับ เพียงแต่กล้องเก่าไม่มีระบบการควบคุมและโปรแกรมที่ทันสมัย ถัดจาก FV300 ก็เป็น FV500, FV1000 และรุ่นใหม่ล่าสุด FV1200 ซึ่งกล้องรุ่นใหม่จะมีสมรรถนะและความสามารถในการวิเคราะห์ทดสอบตัวอย่างได้ดีอย่างไร จึงขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมการฟังสัมมนาเชิงปฏิบัติการกล้องจุลทรรศน์คอนโฟคอล ในวันที่ 25 กันยายน 2558 นี้ ณ ห้องประชุมศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร 074-286904-7 แล้วนำตัวอย่างที่สนใจมาทดลองใช้ ทดสอบวิเคราะห์กันดูนะครับ ฟรี
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « งาช้าง ที่คุณมีแท้หรือไม่
- ใหม่กว่า » วิทยาศาสตร์ใกล้ตัวกว่าที่คิด
Comment on this Post