ความเห็น: 4
การเรียนการสอน
|
4. ประเด็นเพิ่มเติม มีบางประเด็นที่สำคัญเพิ่มเติมจากที่ได้กล่าวมานี้ ดังนี้ 1. จากพจนานุกรมพบว่า ระบบหนึ่งภาคการศึกษา (semester system) มีระยะเวลา 15-18 สัปดาห์ แต่ที่ผ่านมา ในมหาวิทยาลัยของเรา สามารถสอนได้จริงประมาณ 45 ชั่วโมงเท่านั้น (เพราะมีวันหยุดและกิจกรรมมากมาย) ดังนั้น การจัดตารางสอนแบบเดิมจะมีเวลาเรียนในห้องเรียนประมาณภาคการศึกษาละ 2,250 นาที (เท่ากับ 50 คูณ 45 สมมุติว่าการสอนเริ่มได้ตามเวลาจริง) แต่ถ้าจัดแบบใหม่จะได้เวลาเรียน 2,400 นาที (เท่ากับ 80 คูณ 30) นั่นคือสามารถมีเวลาเพิ่มขึ้น 6.7% หรือเพิ่มขึ้น 1 สัปดาห์ จากทั้งหมด 15 สัปดาห์ 2. ถ้าเป็นไปตามความจริงในข้อ 2.2 ที่ว่า “กว่าเครื่องจะติดก็ช้า พอเครื่องเริ่มติดแล้วก็หมดเวลาเสียแล้ว” การจัดแบบใหม่จะทำให้ได้เนื้อหามากขึ้น มีเวลาในการทบทวน ทำแบบฝึกหัด หรือให้คำปรึกษาในชั้นเรียนได้มากกว่าเดิม 3. จากการสอบถามศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา รวมทั้งจากเว็บไซต์ ก็พบว่า หลายมหาวิทยาลัยจัดตารางสอนคล้ายๆกับวิธีการใหม่นี้ 4. ในประเทศจีน เช่น Guangdong University of Technology ที่มหาวิทยาลัยของเรามีความสัมพันธ์กันอยู่ ก็จัดแบบใหม่นี้ โดยที่แต่ละภาคการศึกษายาวนานถึง 20 สัปดาห์ 5. ปัจจุบันเพื่อแก้ปัญหาที่กล่าวมาแล้วอาจารย์สาขาสถิติบางท่าน ก็มีการจับคู่กันสอนคาบละ 90 นาที 2 วิชาสอน 3 ชั่วโมง นอกจากนี้อาจารย์บางท่านในคณะอุตสาหกรรมเกษตรก็มีวิธีการปฏิบัติเช่นนี้เหมือนกัน 7. การจัดแบบใหม่น่าจะทำให้ประสิทธิภาพการใช้ห้องเรียนได้เพิ่มขึ้นเพราะช่วงเวลาในการใช้ห้องเรียนแต่ละครั้งเกือบเป็นสองเท่าของการจัดแบบเก่า นอกจากนี้จำนวนครั้งของการใช้ห้องเรียนได้ลดไปถึง 1 ใน 3 ด้วย 8. การจัดแบบใหม่นี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานการแก้ปัญหาของเราเอง ไม่ได้เลียนแบบใคร ตัวอย่างจากที่อื่นเป็นเพียงการยืนยันว่า แนวคิดนี้สามารถทำได้จริง 5. สรุป คณะควรเปิดโอกาสให้บุคลากร นักศึกษาทั่วทั้งคณะและมหาวิทยาลัยได้มีการอภิปรายในเรื่องนี้กันอย่างกว้าง หากชุมชนชาวมหาวิทยาลัยเห็นด้วย ก็สมควรให้มีการใช้ตารางสอนแบบใหม่ในปีการศึกษา 2551 ได้เลย เพราะไม่มีความจำเป็นต้องเตรียมการอะไรมาก เพียงแต่การจัดตารางสอนเพียงอย่างเดียว.
บันทึกอื่นๆ
- ใหม่กว่า » เล่าเรื่องการจัดตารางสอนแบบใหม่ ...
ความเห็น
ประสาท มีแต้ม
เรียนชาว ม.อ. ทุกท่านครับ
ตามที่ผมได้ส่งเรื่องแนวคิดการจัดตารางสอนคาบละ 90 นาที และพักระหว่างคาบ 30 นาที เพื่อแก้ปัญหาสำคัญ 4 ข้อคือ
ข้อ (1) อาดารเรียนเราห่างไกลกันมากขึ้น นศ. เดินทางไปเรียนไม่ทันภายในเวลา 10 นาที นศ.หญิงคนหนึ่งบอกว่า “เหาะไปก็ยังไม่ทันเลย”
ข้อ (2) เสียเวลาไปกับการทบทวนเนื้อหาคาบที่แล้ว เนื่องจากเนื้อหาคาบที่แล้วยังไม่จบ
ข้อ (3) เวลาเรียนตลอดภาคไม่พอกับเนื้อหา เพราะมหาวิทยาลัยจัดเวลาเรียนภาคละ 15 สัปดาห์ซึ่งเป็นขั้นต่ำของค่ามาตรฐาน (15-18 สัปดาห์) และยังมีวันหยุดทำกิจกรรมอีกเยอะแยะ ถ้าจัดแบบใหม่จะได้เวลาเรียนเพิ่มขึ้นประมาณ 2 สัปดาห์ข้อ (4) ลดปัญหาการจราจรลง 30 % โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตรวจรถมอเตอร์ไซด์ยาวเหยียดเพื่อความปลอดภัยในยุคการก่อความไม่สงบ (เหตุผลใหม่)
บัดนี้ ผมมีความคืบหน้ามาเรียนให้ทราบ 2 เรื่อง 2 ด้านครับ
ด้านที่ 1เรื่องนี้เข้าสู่การประชุมของกรรมการคณะวิทย์ (เมื่อวันอังคารนี้) ผลปรากฏว่า คณะวิทย์ไม่ยอมส่งเรื่องต่อให้ทางมหาวิทยาลัย เหตุผลเป็นอย่างไรโปรดรอรายงานการประชุม
แต่ผมเห็นว่า คณะวิทย์ยังไม่เข้าใจโจทย์ครับ เข้าใจความต้องการของผู้ขอผิดพลาด โจทย์ที่ขอไป คือ“คณะควรเปิดโอกาสให้บุคลากร นักศึกษาทั่วทั้งคณะและมหาวิทยาลัยได้มีการอภิปรายในเรื่องนี้กันอย่างกว้าง หากชุมชนชาวมหาวิทยาลัยเห็นด้วย ก็สมควรให้มีการใช้ตารางสอนแบบใหม่ในปีการศึกษา 2551 ได้เลย เพราะไม่มีความจำเป็นต้องเตรียมการอะไรมาก เพียงแต่การจัดตารางสอนเพียงอย่างเดียว”แต่คณะไปตัดสินเสียเอง หัวหน้าภาคบางท่านไม่ได้ปรึกษากับลูกภาคตามข้อเสนอนี้เลย แต่ท่านตัดสินเอาเอง (เพราะลูกภาคบางคนส่ง mail มาเชียร์) บางท่านบอกว่า ที่ธรรมศาสตร์ก็ทำอย่างนี้ นักศึกษาบางคนบอกผมว่า ที่โรงเรียนอาชีวชุมพรก็ทำอย่างนี้ ด้านที่ 2 มีอาจารย์หลายท่าน หลายคณะได้ส่ง mail มาแสดงความเห็นด้วย ผมขอนำมาลงในที่นี้ แต่ขอปิดชื่อของเสนอความเห็นไว้ก่อน 1. เรียนพี่ประสาทเรื่องจัดตารางสอนนี่ไม่เห็นจะใหม่อะไรเลย ที่มหาวิทยาลัยที่ผมสอนอยู่ (มจธ. บางมด) เขาสอนคาบละ 3 ชั่วโมง พักเป็นเวลา 10 นาทีทุก 1ชมครึ่ง มานานเป็น 10กว่าปีมาแล้ว สมัยที่ผมสอนอยู่มหานคร เขาก็สอนกันอย่างนี้เหมือนกัน สงสัยผู้บริหารมอ.อยู่ไกลปืนเที่ยง เลยอนุรักษ์การจัดตารางสอนมาร่วมเกือบ 40 ปีน่ายกย่อง
แต่ผมว่าคาบละ สามชั่วโมงยาวไปหน่อย สักสองชั่วโมงน่าจะกำลังดี
2. เรียน อ. ประสาท
ดูแล้วก็น่าจะให้ผลดี จะลองคุยในคณะว่าจะทำได้มากน้อยแค่ไหน
แต่คงต้องทำทั้งมหาวิทยาลัย เพราะจะได้จัดตารางสอนได้
โดยเฉพาะคณะวิทย์เราต้องยุ่งกับคณะอื่นด้วย
ขอบคุณค่ะ
3. เรียน อ. ประสาท
แม้ว่าระบบการเรียนการสอนของคณะแพทย์ส่วนใหญ่ไม่ได้เป็น lecture based
แต่สำหรับคณะหรือสาขาวิชาที่การเรียนการสอนยังยึดแนวทางการบรรยายเป็นหลักนั้น
ก็น่าจะเป็นการดี และเห็นด้วยกับระบบที่ อ.จ. เสนอค่ะ
4. เรียนอาจารย์ประสาทที่เคารพ
ผมอยากสนับสนุนความคิดเของอาจารย์เรื่องการจัดตารางสอนแบบที่อาจารย์เสนอ
ครับ เพราะผมเองก็เห็นถึงปัญหาและประโยชน์ของการจัดตารางเวลาแบบดังกล่าว
และได้ยึดปฏิบัติมาเป็นเวลากว่า 4 ปีแล้วในรายวิชาที่ผมสอนทั้งที่เป็นราย
วิชาแบบ 3 หน่วยกิตที่มีบรรยาย 2 หน่วยกิต (2 คาบ/สัปดาห์) ผมจะจัดไว้ด้วย
กันเลยและมีพัก 10 นาทีตรงกลาง และรายงิชาที่เป็นบรรยาย 3 หน่วยกิต ทั้งนี้
ก้ด้วยเหตุผลเดียวกับที่อาจารย์ยกมา แต่ผมเองคิดว่าเป้นการลงทุนที่ประหยัด
และคุ้มค่าแทนที่ผมและนักศึกษาต้องเดินทางมาที่ห้องเรียน 3 ครั้ง/สัปดาห์
และมีการเปิด/ปิด ไฟ แอร์ ในแต่ละครั้ง ซึ่งยังไม่รวมถึงต้นทุนทางปัญญาที่
ต้องเตรียมตัวก่อนการมาสอนในแต่ละครั้งซึ่งเหมือนการ start เครื่องอย่างที่
อาจารย์ว่านะครับ เท่าที่ทำมาและสอบถามนักศึกษาก็มีผลประเมินที่ดีครับ ไม่
มีใครบ่นว่าต้องเรียนติดต่อกัน แต่กลับเป็นว่านักศึกษาชอบที่ได้เนื้อหาและ
การถ่ายทอดที่ต่อเนื่อง และสามารถทำกิจกรรมในชั้นเรียนได้ดีกว่าด้วยครับ
หากอาจารย์ต้องการผลักดันต่อไปในระดับมหาวิทยาลัย ผมขอสนับสนุนด้วยคนครับ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและขอชื่นชมในความคิดของอาจารย์ครับ
5. เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ
ทันตะ
6. เห็นด้วยค่ะ
ดิฉันได้จัดตารางสอนของตัวเอง อย่างที่ อ. ประสาท เสนอ
(บางภาคการศึกษา ต้องจัดเป็น 50 นาที และ 110 นาที + break 10
เนื่องจากนักศึกษาติดวิชาอื่น)
จากการจัดตารางสอนดังกล่าว ดิฉันพบว่า การสอนได้ครอบคลุม การทบทวนจากคาบที่แล้ว
การสอนเนื้อหาใหม่ รวมทั้งกับถาม-ตอบ กับ นักศึกษาใน class โดยไม่ต้องค้างไว้
หรือกินเวลาสอนของ อาจารย์ ท่านอื่น ยิ่งไปกว่านั้นทำให้ดิฉันมีเวลาที่จะมาทำวิจัย หรืองานวิชาการอื่นๆ
รวมทั้งการดูแลสุขภาพของตัวเองก็มีมากขึ้นด้วย
7. เรียน อาจารย์ประสาทที่เคารพ
ขอขอบพระคุณอาจารย์ที่นำเสนอแนวคิดใหม่ๆ เพื่อผลักดันให้ มอ.
ก้าวไปในทางที่ดีขึ้น ส่วนตัวผมเห็นด้วยกับการปรับปรุงให้มีเวลาในการสอนมากขึ้นในแต่ละคาบ
แต่ธรรมชาติของสรรพสิ่งมีสองด้าน เมื่อมีข้อดี ย่อมต้องมีข้อด้อย
หากอาจารย์สามารถนำเสนอข้อมูลเปรียบเทียบข้อดีและข้อด้อยของทั้งวิธีใหม่และวิธีเดิม
น่าจะเป็นวิธีการที่แฟร์กับทั้งฝั่งเก่าและฝั่งใหม่
ผมมีข้อเสนอให้อาจารย์พิจารณาดังนี้ครับ
เบื้องต้นอาจารย์น่าจะมีพื้นที่ที่ชาว มอ.ทุกคน
ไม่ว่าจะเป็นนักศึกษาหรืออาจารย์ แม้กระทั่งบุคลากร
เข้ามาแสดงความคิดเห็น หรือเสนอทางเลือกอื่นเกี่ยวกับหัวข้อนี้
อาจารย์อาจจะสร้างเวปบอร์ดหรือบล็อคขึ้นมาแล้วประชาสัมพันธ์ให้ทุกคนเข้าไปแสดงความคิดเห็น
หากเป็นไปได้ ให้แสดงชื่อสกุล ตำแหน่ง สถานที่ทำงานด้วย
จะได้ทำเป็นสถิติไปเลยว่ากลุ่มไหนมีความเห็นไปในทิศทางใด
อาจารย์อาจทำเป็นโพลแบบสอบถามง่ายๆ ก็ได้ครับ
ถ้าทุกกลุ่มมีแนวโน้มเห็นด้วยก็เท่ากับเป็นการล่ารายชื่อผู้สนับสนุนส่งให้ผู้บริหารพิจารณาได้โดยอัตโนมัตินะครับ
ขอแสดงความนับถือ
ทันตะ
8. เรียน อ.ประสาท
ผมต้องขอประทานโทษเป็นอย่างสูง ที่ไม่ได้ส่ง e-mail
มาให้กำลังใจอาจารย์ตั้งแต่ครั้งแรก ผมอ่านแล้วเห็นด้วยอย่างยิ่งครับ
จะสนับสนุนเรื่องนี้ครับ หากมีโอกาส
10. เรียน ท่านอาจารย์ประสาท,
ขอเป็นกำลังใจให้ท่านอาจารย์ทำงานต่อไป เรื่องแนวคิดการจัดตารางการเรียนการสอนนี้
ก็เป็นแนวคิดที่ดีครับแต่อยากฟังในเวทีกว้าง ผมว่าท่านอาจารย์น่าจะลองคุยกับผู้บริหารคณะแล้วเชิญภาควิชา ฯ ต่าง ๆ
เข้าร่วมปรึกษาหารือ ขออย่างเดียวคือ อย่าเป็นเฉพาะผู้บริหารภาควิชา ฯ เท่านั้นเพราะจะได้เปิดกว้างและมี idea อื่น ๆ มาร่วมให้ข้อคิด ขอเสนอแนะและหากผู้บริหารคณะไม่สะดวก ก็ขอให้มีคำสั่งมายังภาควิชาฯ
แต่ละภาคช่วยกันระดมความเห็นและนำข้อสรุปเสนอคณะกับท่านอาจารย์ต่อไป
อย่างน้อยก็จะได้รับรู้ว่าสังคมบุคลากรคณะคิดอย่างไรครับผม
12. ผมเห็นด้วยกับอาจารย์ประสาทครับ ในฐานะที่ผมเป็นนักศึกษาคนหนึ่ง
และเป็นตัวแทน ของชั้นปี 30 คน ผมเคยอ่านตั้งแต่ฉบับแรก
พยายามทำความเข้าใจ และก็เล่าให้เพื่อนฟัง หลายคนเห็นด้วยครับ
ขอบพระคุณทุกท่านครับ ประสาท มีแต้ม
เรื่องจัดตารางสอนนี่ไม่เห็นจะใหม่อะไรเลย ที่มหาวิทยาลัยที่ผมสอนอยู่ (มจธ. บางมด) เขาสอนคาบละ 3 ชั่วโมง พักเป็นเวลา 10 นาที ทุก 1 ชมครึ่ง มานานเป็น 10 กว่าปีมาแล้ว สมัยที่ผมสอนอยู่มหานคร เขาก็สอนกันอย่างนี้เหมือนกัน สงสัยผู้บริหาร ม.อ.อยู่ไกลปืนเที่ยง เลยอนุรักษ์การจัดตารางสอนมาร่วมเกือบ 40 ปีน่ายกย่อง แต่ผมว่าคาบละ สามชั่วโมงยาวไปหน่อย สักสองชั่วโมงน่าจะกำลังดี2. เรียน อ.ประสาทครับ
เรื่องนี้มีการคุยกันหลายวงครับ แต่ไม่ค่อยมีความคืบหน้า ผมก็ไม่ทราบว่า
อ.ประสาทก็พยายามผลักดันเรื่องนี้ด้วย ก่อนหน้านี้ประมาณปีกว่า หรือ 2
ปีกว่ามาแล้ว ผมก็คิดจะนำวาระนี้เข้าที่ประชุม กก.วิชาการวิทยาเขต
แต่ไม่ได้เจียดเวลาไปทำการบ้านเป็นข้อมูลประกอบ ในที่สุดก็ถอนออกไป
หากทราบว่า อ.ประสาทมีข้อมูลลักษณะนี้ด้วย ก็คงช่วยได้มากเลย
(เป็นการคิดแบบผ่อนแรงตัวเองมากๆ)
ผมนำเรื่องของ อ.ประสาทส่งต่อไปให้คณบดี และรองคณบดีฝ่ายวิชาการ
(คิดว่าอาจารย์คงไม่ขัดข้อง ได้อ้างอิงว่า เป็นของอาจารย์แล้วครับ)
ดูเหมือนว่า จะได้รับการตอบรับดี คณบดีบอกว่า จะนำไปผลักดันต่อ
แต่ไม่แน่ใจว่า แนวคิดจะเหมือนที่ อ.ประสาทเสนอไว้หรือไม่3. เรียน อ.ประสาท ทราบ เรื่องการจัดตารางสอนแบบใหม่นี้คงจะเปลี่ยนแปลงได้ยาก ผมยังไม่ได้เล่าให้ฟังว่าผมเคยเสนอความเห็นคล้ายๆกันนี้มาแล้ว เมื่อนานมาแล้ว(มากกว่า 20 ปี) แต่ได้รับการปฏิเสธ ที่แรกก็จากคณะวิทย์ฯนี่แหละครับ ที่เสนอคราวนั้นก็คือในส่วนที่คณะทรัพย์ฯ ต้องสอนปี 3-4 นั้น จัดตารางสอนยากมาก เพราะนักศึกษาบางคนยังต้องเรียนพื้นฐานในคณะวิทย์ฯซึ่งการจัดตารางสอนไม่เป็นระบบ ทำให้นักศึกษามีเวลาว่างไม่ตรงกัน ผมก็หาเวลาสอนไม่ได้ หรือจัดตารางสอนได้ก็ไม่มีนักเรียนลงทะเบียนเรียนเพราะลงไม่ได้ สุดท้ายผมต้องแก้โดยไม่กำหนดเวลาเรียน ก็ได้นักศึกษามาลงทะเบียนกลุ่มหนึ่งครับ (แต่อาจต้องสอนนอกเวลาราชการ)นอกจากนี้ระบบปัจจุบันของ มอ. การจัดตารางสอบก็ยุ่งยาก และมีการกักตัวสอบ ซึ่งน่าจะเป็นที่เดียวในประเทศไทย หรือไม่ก็ในโลก ที่ มช. เป็นแบบลูกผสมครับ ตัวอย่าง ถ้าวิชา 3 หน่วยกิต ก็จัดตารางสอนจันทร์ พุธ ศุกร์ เรียนตามคาบแบบที่เราทำอยู่ แต่เวลาจะตรงกันทั้ง 3 วัน เช่น 8.00-8.50 ก็เป็นเวลานี้ทั้ง 3 วัน (เมื่อลงทะเบียนได้ก็จะสอบได้เพราะตารางสอบจะสอดรับกับตารางเรียน) ส่วนอังคารกับพฤหับก็จะจัดเป็นแบบคล้ายๆ ที่อาจารย์เสนอมาครับ 8.00-9.20, 9.30-10.50,11.00-12.20 เป็นต้น ผมว่าเรื่องที่อาจารย์เสนอเป็นเรื่องที่ดี แต่ ม.อ. มักไม่รับฟังเพราะกลัวยุ่ง เอาอย่างเดิมมันสบายดี จึงไม่มีใครรับฟัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้มีอำนาจ ทั้งๆที่ ที่อาจารย์นำเสนอไปนั้นจะทำให้การใช้ทรัพยากรของมหาวิทยาลัยมีประสิทธิภาพขึ้น แต่ข้าฯ ไม่เอา ผมว่าอาจารย์ประสาทลองเข้าไปเสนอความคิดใน blog ที่ gotoknow.org อีกทางหนึ่งด้วยก็น่าจะดีนะครับ เพราะนอกจาก มอ. แล้ว ทั่วประเทศก็อ่านได้ โต้ตอบแสดงความคิดเห็นกันได้ด้วย search ตาม key word ได้ด้วย แต่ถ้าเอาเฉพาะใน มอ. ก็ใช้ share.psu.ac.th ผมกำลังจะลองเข้าไปใช้ดูเหมือนกัน สนใจลองสอบถามที่คุณเมตตา ชุมอินทร์ กองการเจ้าหน้าที่ดูนะครับ เผื่อว่าความคิดดีๆ จะเป็นประโยชน์กับประเทศไทยได้มากขึ้นครับนับถือ 4. เรียน อ.ประสาท ผม XXXXX ภาคชีววิทยาครับ เรื่องการจัดตารางแบบใหม่นั้นผมมีความคิดเห็นดังนี้
ไอเดียดีครับ แต่พอมี Lab เข้ามาแล้วทำให้ความคล่องในการจัดตารางจะน้อยลงไปและเวลาใช้ไม่คุ้มค่าครับ ผมมองจากมุมมองของการจัดเวลาไม่ให้ชนกันของแต่ละวิชาจะพบว่า
เมื่อลดจำนวนคาบต่อวันลง โอกาสชนกันก็จะมากขึ้นครับ แม้ว่าจะลดจำนวนคาบที่ใช้สอนลงก็ตามปกติแล้วชีววิทยาจะมี lab ทุกบ่าย ดังนั้นส่วนใหญ่แล้วอาจารย์น่าจะว่างสอน lecture ได้แต่ช่วงเช้าเท่านั้น (ผมว่าภาคเคมีก็น่าจะไม่ต่างกันมาก) นักศึกษาชีววิทยาเรียนวิชาของภาคน่าจะราวๆ 3 วิชา นั้นคือของเดิมปกติ มีคาบเช้าทั้งอาทิตย์ 5x4 = 20 คาบ ต้องการคาบ 3x3=9
ของใหม่ มีคาบเช้าทั้งอาทิตย์ 5x2 = 10 คาบ ต้องการคาบ 2x3 = 6
จะเห็นว่า คาบลดลง 50% แต่ความต้องการคาบลดลงเพียง 33.33%
ดังนั้นถ้าเมื่อนำมาคิดกับวิชาอื่นๆอีก โอกาสที่คาบจะชนกันจะสูงขึ้นกว่าระบบเดิมครับ
(นักศึกษาชีววิทยาก็ต้องเรียนเคมีที่อาจารย์น่าจะสอนได้แต่ตอนเช้าเหมือนกัน) และการที่มี lab ทำให้เวลาหาไป 30 นาทีครับ เพราะระบบใหม่แบ่ง เช้า 3.30 ชั่วโมง บ่าย
3.30 ชั่วโมง แต่ labปกติแล้วใช้เวลา 3 ชั่วโมงครับ
ดังนั้น อีก 30 นาทีที่ชดเชยให้กับตอนเช้าจึงไม่มีประโยชน์ในวันที่มี lab ครับ
สรุปว่าผมมองว่าถ้าจัดตารางเรียนแบบใหม่นี้จะทำให้สภาพคล่องของการจัดหลีกน้อยลง
ซึ่งขณะนี้ก็เป็นปัญหาอยู่แล้วครับ ว่าชนกันจนต้องมีเรียนคาบ 7.00 หรือเรียนตอนเที่ยงกัน
5. เรียน อ.ประสาท ที่เคารพ
ผมเห็นใจ และ สงสารอาจารย์มากครับ เสนอสิ่งดี ๆให้กับ ผู้บริหาร
แต่ไม่ได้การสนับสนุนเท่าที่ควร ผมขอเป็นกำลังให้อาจารย์ด้วยครับ
มีอะไรที่ผมพอจะช่วยได้ ผมยินดีครับ(ผมเป็นข้าราชการตัวเล็ก ๆ คนหนึ่ง ในมหาวิทยาลัย) 6. อ. อีกท่านหนึ่งไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ อาจเหมาะกับวิชาพวกคณิตศาสตร์ สังคมศาสตร์ หรือพวกเรียนวิชาชีพอย่างแพทยศาสตร์ แต่ไม่เหมาะกับการศึกษาหลายแขนงเช่น สาขา YYYYYY ที่ผมสอนลองดูมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ๆในโลกนี้ซีครับ ว่าเขาจัดคาบละ 50 นาที ทั้งนั้นละครับ แต่ที่พูดมานี้ไม่ใช่ว่าเขาจัดเลยว่าเขาดีนะครับแล้วต้องเอาตามอย่าง แต่อยากให้ดูนานาอารยประเทศว่าเขาทำอย่างไรกันเป็นส่วนมาก ไอ้ที่ว่าเห็นด้วยนะ มันกี่คนกันละครับ ผมคิดว่าที่ทางคณะเขาไม่ส่งเรื่องไปมหาวิทยาลัยน่ะ ทำถูกที่สุด ผู้บริหารเขาก็ต้องมีสิทธิ์ตัดสินใจน่ะถูกแล้วละครับ ขืนสอนกันทีละ 90 นาที นักศึกษาไม่ฟังลองครับ จะนอนกันน่ะซิขอย้ำอีกครั้งว่าไม่เห็นด้วย (หมายเหตุ ที่ผมเสนอ ใน 90 นาที พัก 10 นาที หรือ สอน 40 นาที พัก 10 นาที แล้วเรียนอีก 40 นาที ไม่ใช่ 90 นาทีรวดเดียว)
![]() |
ส่วนตัวแล้วนะครับ ผมชื่นชมอาจารย์มากในเรื่องการอุทิศัวให้สังคม ทำประโยชน์ให้สังคม
เรื่องนี้ก็เป็นไอเดียร์ที่ดีนะครับ แต่บางวิชาก็ไม่จำเป็นต้องใช้เวลาสอนต่อคาบมากถึง90นาที เพราะมันทำให้ นศ. เบื่อ หรือล้ามากเกินไป แต่บางวิชาก็จำเป็นมากๆอย่างที่อาจารย์บอก "พอเครื่องเริ่มติดก็หมดเวลาเสียแล้ว" และ ช่วยลดเวลาในการเข้าคาบเรียนสายเนื่องจากการเดินทาง
แต่ผมคิดว่ายังไงความคิดนี้ถ้าได้ปฎิบัติจริงน่าจะเกิดประโยชน์มากกว่าตารางเรียนแบบเดิมแน่ครับ แต่จะให้ถูกใจทุกคนก็คงจะไม่ได้ครับ
ด้วยความเคารพ
17 ตุลาคม 2550 08:40
#192
อาจารย์ คะ...ยินดีต้อนรับค่ะ
.......ที่ด้านขาวของบันทึก...เป็นอธิบายคร่าวๆ เกี่ยวกับเรื่องราวของสมุดเมนี้ ของอาจารย์...ลองปรับแก้ไขมั๊ยคะ....ที่แสดงอยู่นี่เป็นทั้งบันทึกของอาจารย์ เลยค่ะ....
......โทร..มาหาได้ที่ 2056 / 2057 นะคะ
ขอบคุณค่ะ