ความเห็น: 0
ตามดูการซ่อม "TEM" ๒
จากบันทึกแรก ตามดูการซ่อม "TEM" จัดการรื้อถอดชุดที่มีปัญหาออกแค่ประกอบกลับก็ใช้เวลาค่อนข้างมาก
พอว่ามาถึงขั้นตอนจัดการระบบให้มันเป็นสุญญากาศงานนี้ไม่สนุกหากว่ารื้อระบบคอลัมน์ นั้นหมายถึงว่าทั้งอากาศ และความชื้นเข้าไปภายใน System ของคอลัมน์
ซึ่งวิศวกรผู้ซ่อมจะมีเทคนิคของการดึงเอาอากาศออกจากระบบ แต่ต้องรู้ และเข้าใจจริง ๆ ไม่นั้นเครื่องเสียหายในรายการซ่อมครั้งนี้ สิ่งที่ต้องเปลี่ยน และราคาค่อนข้างไปทางสูงด้วยคือไส้หลอดที่เราเรียกกันว่า LaB6เปลี่ยนแล้วเสร็จก็ต้องทำการ pre-head แบบการเพิ่มค่ากระแสไฟฟ้าที่จะไป Bias LaB6 โดยจะใช้เวลาในการทำประมาณ ๒-๓ ชม.เพิ่มทีล่ะนิด เครื่อง TEM เราเป็นรุ่นเก่าทำได้แต่เฉพาะ Manual วิศวกรจะต้องไป setup Dip SW ที่แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ หน้าชุดทำ Highvolts "ปุ่มที่ปรับคือปุ่มล่างสุดที่อยู่ใต้เลข 054
นั้นคือสิ่งที่ได้ทำไป พอว่าวันที่ ๒๕๐๕๕๙ คือวันที่สองของการซ่อม ON Beam โดยการปรับชุดจ่ายไฟ HighVolts เป็น step แบบช้าไปที่ 100 KV ลำแสงก็ส่อลงมาบน Screen ดังภาพ
เป้าหมายของวันนี้คือที่ 120 KV ที่กำลังขยาย 80 K กว่าจะแล้วเสร็จเวลาก็ล่วงเลยไปที่ 19.00 น.ของวันที่สองคงได้แค่เปิด HighVolts ทิ้งไว้ค้างคืนที่ 120 KV แล้วว่าค่อยกลับมาจัดการต่อในวันพรุ่งครับ
เสือ"กับงานซ่อม TEM"
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « ตามดูการซ่อม "TEM"
- ใหม่กว่า » ตามดูการซ่อม "TEM" ๓
ร่วมแสดงความเห็นในหน้านี้