ความเห็น: 3
หดหู่ใจ 1: สังคมการศึกษา
ช่วงนี้ได้รับฟังเรื่องราวที่ทำให้รู้สึกหดหู่ใจว่า สังคมไทยก้าวเข้าสู่ระบบทุนนิยมสามานย์มากขึ้นในทุกด้าน
ด้านการศึกษา ได้รับรู้มาว่า มีการกวดวิชาเด็กชั้นอนุบาลของโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่งในหาดใหญ่ในวันเสาร์-อาทิตย์ ค่ากวดวิชาวันเสาร์ 400 บาท ในช่วงเวลา 7-8 ชั่วโมง รวม 4 วิชา ติวเป็นชั้นประมาณ 40 คน
ลักษณะการติวเป็นระบบกึ่งบังคับ โดยครูจะตรวจดูสมุดการบ้านของเด็กที่ไม่เข้าติว แล้วพูดกดดันว่า ข้อนี้ผิด ข้อนี้ไม่เข้าใจ ทำให้เด็กเกิดปมด้อย จนต้องไปร้องขอผู้ปกครองให้ส่งมาติว เพราะไม่อยากถูกครูกดดันอีกต่อไป
เรื่องนี้จับผิดลำบากครับ เพราะเป็นการกดดันด้วยวาจา สอบสวนไปก็น่าจะลำบาก ครูก็อาจบอกว่าทำการบ้านผิดจริง แต่เด็กอนุบาลสาม จะไปเอาอะไรกันหนักหนา จะให้เก่งขนาดไหน? สอนกันแบบมีเมตตาได้หรือไม่
ฟังเรื่องแบบนี้แล้วหดหู่ใจครับ เราเข้าสู่ยุคใครมือยาวสาวได้สาวเอา ระบบติวเริ่มจาก อาจารย์ในมหาวิทยาลัยเปิดติวให้กับเด็กมัธยม ครูมัธยมก็มองเห็นผลประโยชน์ว่าทำไมต้องให้อาจารย์มหาวิทยาลัยติวกลุ่มเดียว ก็เปิดติวบ้าง ไล่ลงไปมัธยมต้น ประถมจนถึงอนุบาลจนได้
การที่ครูเปิดติวในรายวิชาชั้นเดียวกันกับที่สอนนั้น เป็นประเด็นผิดจริยธรรมชัดเจน เป็น conflict of interest ในอดีตผมได้รับการเอ็นดูจากครูที่แท้จริงด้วยการให้การบ้านจากตำราเล่มอื่นมาทำนอกเหนือจากเพื่อน ๆ ในห้อง แล้วก็ไปส่งและไปถามต่อนอกเวลาเรียน แต่ท่านไม่เคยเรียกร้องเงินทองจากศิษย์ ความสัมพันธ์ครู-ศิษย์ก็แน่นเฟ้น เป็นการเคารพด้วยใจจริง
ในเวลาเรียนสอนเต็มทีได้เท่าใดก็เท่านั้นพอแล้ว ปล่อยให้เด็กได้เรียนรู้นอกห้องเรียนบ้าง มิใช่ครอบงำว่าต้องได้จากครูเท่านั้น เมื่อมีผลประโยชน์ค่าติวค่าสอนเข้ามาเกี่ยวข้อง ก็ไม่ถูกต้อง ถ้าหวังดีจริงก็ติวโดยไม่เก็บเงินซิ
เด็กที่เติบโตขึ้นด้วยระบบแบบนี้ ไม่มีความคิดที่จะเคารพครูเหมือนในอดีต เพราะมองว่าเป็นการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์กัน จ่ายครบก็จบแน่
ที่สำคัญ ผู้บริหาร ผู้อำนวยการ เป็นผู้ปล่อยให้ระบบนี้ดำเนินต่อไป โดยได้ประโยชน์จากการที่นักเรียนมีผลการสอบดีเด่นในระดับประเทศ เชิดหน้าชูตาผู้อำนวยการกันต่อไป เป็นการมองประโยชนส่วนตัวที่คับแคบ แต่ไม่ได้มองประโยชน์ส่วนรวมของประเทศ แล้วเราก็จะได้ประชากรที่มีแนวคิดแบบเห็นประโยชน์ส่วนตนมากขึ้นเรื่อย ๆ เหมือนการไม่คืนเงิน กยศ.
หดหู่ใจที่ได้ยินเรื่องราวแบบนี้ครับ
ผม..เอง (แมว 61+)
Other Posts By This Blogger
- Older « ระบบการทำงานที่ตามสะดวกของผู้ให้...
- Newer » ถนนแบ่งปันหรือแบ่งปันถนน
ความเห็น
มีแต่คนบ่น แต่ระบบก็ทำท่าจะแย่ลง การแก้ปัญหามาช้าไปจริงๆค่ะ ผลผลิตที่ออกมาในวัยรุ่นปัจจุบันก็น่าจะฟ้องได้แล้วว่าควรจะต้องเปลี่ยนวิธีการเรียนการสอน โดยเฉพาะการติวเร่งรีบให้ผ่านแต่ละช่วงการเรียน เราจะหวังพึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้อยู่ไหมคะนี่
..เป็นการมองประโยชนส่วนตัวที่คับแคบ แต่ไม่ได้มองประโยชน์ส่วนรวมของประเทศ แล้วเราก็จะได้ประชากรที่มีแนวคิดแบบเห็นประโยชน์ส่วนตนมากขึ้นเรื่อย ๆ..
ถ้ายังจำกันได้เรื่องสอบเอนทรานส์ ที่จะเปลี่ยนเป็น แอดมิชชั่น เพื่อเด็กผู้ปกครองจะได้ไม่ยุ่งยาก
ที่ไหนได้ครับ สิบกว่าปี ได้มีระบบการสอบ ที่ต้องจ่ายเงินเพิ่มขึ้นเยอะแยะ กระทั่งได้จัดตั้งองค์กร "เก็บค่าต๋งการสอบ" ขึ้นมา มีรายได้ต่อปีมหาศาล แล้วจะแก้ยังไงครับ
แล้วจะแก้ยังไง
25 กุมภาพันธ์ 2559 18:42
#104749
ตัวใหญ่กว่านี้
เอ้ยคนใหญ่กว่านี้ต้องลงมาดูแล ไม่ใช่ปล่อยให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้
ระบบการศึกษาไทยมันเข้าสู่ทุนนิยมสามานย์แล้วจริง ๆ ครับ
เมื่อสักครู่ เพื่อที่ทำงานก็ยุ่ง ๆ กับผลการสอบแข่งขันเข้าเรียนในโรงเรียนอนุบาลแห่งหนึ่งในหาดใหญ่
สอบทั้งข้อเขียน สอบทั้งปฏิบัติ
แม่เจ้า
อิอิอิ
เราเอง