ความเห็น: 1
การเสนอวาระในที่ประชุม
ในการเสนอวาระเข้าที่ประชุม กรณี “การประชุมคณะกรรมการประจำคณะ” เช่น การเสนอเรื่องแจ้งเพื่อทราบ และการเสนอเรื่องเพื่อพิจารณา โดยมีส่วนประกอบของเรื่องที่เสนอ ดังนี้
1. การเสนอเรื่องแจ้งเพื่อทราบ
หน่วยงานเจ้าของเรื่องนำเสนอเรื่องเข้าที่ประชุม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแจ้งให้ที่ประชุมรับทราบ ถึงผลการดำเนินงาน หรือรายงานความก้าวหน้าจากที่ประชุมได้มีมติให้ดำเนินการในครั้งที่ผ่านมา ซึ่งมี “ตัวอย่าง” ส่วนประกอบของเรื่องที่จะนำเสนอให้ที่ประชุมทราบ
ดังนี้
เรื่อง .........(ใส่ชื่อเรื่องให้ตรงประเด็นและกระชับ)........
..........................(ใส่ความเป็นมาและเหตุผลที่มาของเรื่อง หากเป็นเรื่องตามที่ประชุมมีมติให้ดำเนินการ และนำมารายงานผลแจ้งให้ทราบ ให้ระบุมติที่ประชุมที่ให้ดำเนินการในครั้งนั้นมาด้วย เพื่อจะได้ทำความเข้าใจตรงกัน และให้หน่วยงานรายงานว่ามีการดำเนินการอย่างไร และมีผลการดำเนินการเป็นอย่างไร)...........................................
(หากมีเอกสารประกอบเรื่องแจ้งเพื่อทราบ ให้ระบุว่า ตามเอกสารที่แนบ โดยให้แนบเอกสารมาด้วย)
จึงนำเสนอที่ประชุมเพื่อทราบ
..........(ใส่ชื่อหน่วยงานที่เสนอวาระ)………………
2. การเสนอเรื่องพิจารณา
.........................(หน่วยงานเจ้าของเรื่องจะนำเสนอเรื่องเข้าที่ประชุมโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแจ้งให้ที่ประชุมพิจารณา เพื่อจะได้นำไปจัดกระบวนการหรือดำเนินการต่อไปได้ หรือบางเรื่องจำเป็นต้องผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมก่อน เพื่อจะได้ดำเนินการในขั้นตอนต่อไป ซึ่งมี "ตัวอย่าง” ส่วนประกอบของเรื่องที่จะนำเสนอให้ที่ประชุมทราบ ดังนี้
เรื่อง .........(ใส่ชื่อเรื่องให้ตรงประเด็นและกระชับ)........
หลักการและเหตุผล
...................(ใส่ความเป็นมา/เหตุผลที่มาของเรื่อง)…………..............................................................................................................
ประเด็นเสนอเพื่อพิจารณา
...................... (ใส่วัตถุประสงค์สำคัญ ๆ เรื่องที่จะนำเสนอให้ที่ประชุมพิจารณา เพื่ออะไร หรือเสนอแนวทางในการพิจารณา เช่น จัดทำรูปแบบในการเลือกตัดสินใจ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อจะได้กระชับ ตรงประเด็น ไม่กว้างจนเกินไป จะทำให้การประชุมมีความรวดเร็วยิ่งขึ้น หากมีเอกสารประกอบเรื่องเพื่อพิจารณา ให้ระบุว่า ตามเอกสารที่แนบ)…………………………………………
(หน่วยงานเจ้าของเรื่องจะต้องเข้าใจในเรื่องที่นำเสนออย่างถี่ถ้วน เพื่อจะได้เสนอข้อมูล และตอบข้อซักถามได้อย่างชัดเจน และทำให้การประชุมมีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น)
ความเห็นของหน่วยงานที่เสนอเรื่องและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(ส่วนนี้จะใส่หรือไม่ใส่ก็ได้แล้วแต่กรณี)
.................(ใส่ความคิดเห็นของหน่วยงานที่เสนอเรื่องลงไป เพื่อจะได้ทำความเข้าใจร่วมกัน)...........................................
จึงนำเสนอที่ประชุมเพื่อพิจารณา
.........(ใส่ชื่อหน่วยงานที่เสนอวาระ)………
ดังนั้นการนำเสนอเรื่องเข้าที่ประชุม หน่วยงานผู้ที่เสนอสรุปให้กระชับ ได้ใจความ และตรงประเด็น ไม่ควรมีเอกสารมากเกินไป ยกเว้นเป็นกรณี ๆ เพื่อให้สามารถดำเนินการประชุมได้ครบทุกวาระ และเสร็จภายในเวลาที่กำหนด
นอกจากนี้เพื่อให้คณะกรรมการสามารถอ่านวาระการประชุมได้ล่วงหน้า ฝ่ายเลขานุการควรส่งให้กับคณะกรรมการได้ทราบก่อนอย่างช้า 3 วันก่อนการประชุม โดยหน่วยงานที่นำเสนอเรื่องเข้าที่ประชุมส่งเรื่องให้ฝ่ายเลขานุการที่ประชุมภายในเวลาที่กำหนด เพื่อจะได้จัดส่งวาระให้คณะกรรมการได้อ่านล่วงหน้า ยกเว้น กรณีที่เป็นเรื่องเร่งด่วน ที่ไม่สามารถจัดทำวาระให้เสร็จตามกำหนดการ โดยขอความร่วมมือให้โทร.แจ้งฝ่ายเลขานุการที่ประชุมทราบ เพื่อจะได้จัดวาระการประชุมได้อย่างเหมาะสมต่อไป.
บ๊าย บาย
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « การขับเคลื่อน "เรื่องดำเนินการตา...
- ใหม่กว่า » สวัสดิการพนักงานเงินรายได้
23 Febuary 2012 15:58
#75414
เริ่ดมาก..คะ พี่มอลลี่คนสวย อยากได้ข้อมูลดีๆแบบนี้เลย
หมี share