ความเห็น: 0
การพัฒนาพนักงานด้วยการเพิ่มคุณค่าในงาน (Human Resource Development : Job Enrichment)
Job Enrichment – การเพิ่มคุณค่าในงาน เป็นเครื่องมือที่ออกแบบขึ้นเพื่อพัฒนาบุคลากรในองค์กรที่ไม่ใช่เรื่องการฝึกอบรม (Non-Training Intervention) แต่จะเกี่ยวข้องกับการออกแบบงาน (Job Design) ที่หลากหลาย พื้นฐานสำคัญของ Job Enrichment มุ่งเน้นไปที่คุณลักษณะของงาน (Job Characteristics Model) ซึ่งเป็นกรอบแนวคิดพื้นฐานที่สำคัญของ Job Enrichment
ดังนั้นแนวคิดของเครื่องมือการพัฒนาบุคลากร “Job Enrichment” จึงเป็นกิจกรรมด้านการบริหารจัดการที่เน้นการออกแบบลักษณะงาน เป็นงานที่แตกต่างจากเดิมที่เคยปฏิบัติ เน้นให้เกิดความชำนาญในงานที่หลากหลายขึ้น (Skill Variety) เกิดความรับผิดชอบในงานของตน (Task Identity) เป็นลักษณะงานที่มีความสำคัญ (Task Significance) มีอิสระสามารถบริหารจัดการงานนั้นด้วยตนเอง (Autonomy) และได้รับข้อมูลป้อนกลับจากผู้บังคับบัญชา (Feedback)
ตัวอย่างการออแบบแบบงานที่เน้นการเพิ่มคุณค่าในงาน — เจ้าหน้าที่ฝึกอบรม ที่แต่เดิมจะทำหน้าที่ในการติดต่อประสานงานกับผู้เข้าอบรม ติดต่อวิทยากร จองห้องประชุม และจัดเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมก่อนการอบรม ต่อมาได้มีการนำแนวคิดของ Job Enrichment มาใช้โดยมอบหมายงานที่เพิ่มคุณค่าในงานฝึกอบรมมากขึ้น เป็นงานที่จะต้องช่วยผู้บังคับบัญชาในการสัมภาษณ์ผู้บริหารของหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ความจำเป็นในการฝึกอบรม โดยเจ้าหน้าที่จะต้องวิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมได้เพื่อหาความจำเป็นในการฝึกอบรมในเบื้องต้น
จากตัวอย่างข้างต้นนั้นเป็นลักษณะของการออกแบบงานที่ต้องการเพิ่มความรับผิดชอบในงาน เน้นงานที่ยากและท้าทายมากขึ้น ทั้งนี้การออกแบบงานในลักษณะของ Job Enrichment จะมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อ
1. Renewal
การทำให้เกิดความแปลกใหม่ ไม่ให้พนักงานเกิดความเบื่อหน่าย โดยการเปลี่ยนแปลง ลักษณะงาน บุคคลที่จะต้องติดต่อประสานงานด้วย เปลี่ยนมุมมองหรือความคิดจากงานเดิม2. Exploration
การพัฒนาและการแสวงหาทักษะความชำนาญที่มากขึ้น พัฒนาสัมพันธภาพที่เกิดขึ้นจากการทำงานใหม่ ๆ3. Specialization
การชำนาญในงานเป็นพิเศษ ก่อให้เกิดความสามารถในการบริหารจัดการงานนั้นที่ลึกขึ้น ยากและท้าทายมากขึ้นอย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าการออกแบบงานในลักษณะของ Job Enrichment จะมีประโยชน์กับพนักงาน แต่มีพนักงานบางกลุ่มที่ต่อต้าน ปฏิเสธไม่ยอมรับงานที่ต้องเพิ่มมากขึ้น พวกเขาจะมองว่าเป็นการสูญเสียเวลาที่จะต้องบริหารจัดการงานที่เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นหากองค์กรต้องการที่จะมอบหมายงานให้พนักงานยากและท้าทายขึ้น องค์กรจะต้องชี้แจงวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน (Clarity) เชื่อมโยงกับความก้าวหน้าและเป้าหมายในอาชีพ โดยให้คำแนะนำ/กรอบแนวทางปฏิบัติ ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงแก่พนักงานในการบริหารจัดการกับงานที่เพิ่มมากขึ้น(Introduction) เพื่อช่วยสร้างความมั่นใจในตัวพนักงานว่า พวกเขาสามารถบริหารงานที่ก่อให้เกิดมูลค่าในงาน (Job Value Added) ในตัวพนักงานที่มากขึ้น พบว่าเครื่องมือการออกแบบงานที่เน้นการเพิ่มคุณค่าในงานหรือ Job Enrichment จึงเหมาะกับการเตรียมความพร้อมในสายอาชีพ (Career Path) ให้กับพนักงาน เพื่อช่วยเตรียมพนักงานให้สามารถรับผิดชอบงานที่เพิ่มขึ้นในตำแหน่งงานที่สูงขึ้น
ขั้นตอนการทำ Job Enrichment ซึ่งองค์กรจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการดำเนินการด้วยวิธีการนี้ ได้แก่
1. วิเคราะห์และจัดลำดับความสำคัญของงาน
องค์กรจะต้องวิเคราะห์ แจกแจงงาน ของแต่ละตำแหน่งานว่ามีขั้นตอนการทำงานอย่างไร โดยเรียงจากกระบวนการงานที่ง่าย ที่สุดไปหางานที่ยากที่สุด2. ตรวจสอบการทำงานของพนักงาน
องค์กรจะต้องตรวจสอบและติดตามความก้าวหน้าในการทำงานของพนักงานแต่ละคนว่าพวกเขาสามารถทำงานที่มอบหมายให้รับผิดชอบดีมากน้อยแค่ไหน หากพนักงานคนใดที่สามารถทำงานตามที่มอบหมายให้เกิดประสิทธิภาพเป็นเวลา 2-3 ปีติดต่อกันแล้ว องค์กรควรจะหางานที่เพิ่มมูลค่าในงาน ซึ่งเป็นงานที่ยากและท้าทายมากขึ้น3. ชี้แจงเหตุผลและวัตถุประสงค์
เพื่อให้พนักงานเข้าใจถึงเหตุผลและประโยชน์ของการที่องค์กรจะให้งานที่ยากและท้าทายขึ้น จำเป็นอย่างยิ่งที่องค์กรจะต้องสื่อสาร อธิบายและตอบข้อซักถามแก่พนักงาน4. ฝึกอบรมและพัฒนาพนักงาน
งานที่ยากและท้าทายความสามารถของพนักงาน อาจทำให้พนักงานขาดความมั่นใจในงานใหม่ที่ต้องเพิ่มความรับผิดชอบให้มากขึ้น สิ่งสำคัญที่องค์กรจะต้องตระหนักไว้เสมอก็คือ การฝึกอบรมและพัฒนาขีดความสามารถของพนักงานเพื่อให้เกิดความพร้อมที่จะรับงานใหม่นั้น5. ติดตามและประเมินผลการทำงานของพนักงาน
องค์กรจะต้องติดตามดูว่าพนักงานสามารถทำงานใหม่ที่เพิ่มคุณค่าในงานนั้นได้หรือไม่ การติดตามมิใช่เป็นการจ้องจับผิด แต่เป็นการให้คำแนะนำแก่พนักงานเพื่อให้พนักงานมีผลการทำงานที่ดีขึ้นสรุปว่า การมอบหมายงานที่เพิ่มคุณค่าในงานนั้นเป็นอีกหนึ่งวิธีการในการพัฒนาขีดความสามารถของพนักงาน ซึ่งวิธีการนี้สามารถจูงใจและรักษาพนักงาน โดยเฉพาะบุคคลที่ได้ชื่อว่าเป็นคนเก่งและคนดี (Talented People) ในองค์การไว้ได้
ที่มา http://peoplevalue.co.th/
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « Competency สำคัญของงาน HR ที่จะต...
- ใหม่กว่า » Productivity กับการทำงานของเรา
ร่วมแสดงความเห็นในหน้านี้