ความเห็น: 0
มหกรรมจิตอาสาภาคใต้ครั้งที่ 1
มหกรรมจิตอาสาภาคใต้ ครั้งที่ 1
20 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันอาสาสมัครสาธารณสุขแห่งชาติ (วัน อสม.) ด้วยการมีส่วนร่วมของพลังจิตอาสาจากประชาชนในการดูแลสุขภาพ เพื่อเป้าหมาย"สุขภาพดีถ้วนหน้า" ในปี 2543 เป็นวิสัยทัศน์ของการพัฒนาสุขภาพตั้งแต่ปลายแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5 โดยอาศัยบทเรียนหนึ่งของสังคมไทยที่ไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเวทีขององค์การอนามัยโลก ที่มีเป้าหมายคือการพึ่งตนเองด้านสุขภาพ โดยใช้กลวิธีสาธารณสุขมูลฐานในการดำเนินงานร่วมกัน จนถึงวันนี้ อสม.คือกลไกสำคัญของชุมชนในการร่วมเรียนรู้และดูแลสุขภาพอย่างเป็นองค์รวม ร่วมกับเจ้าหน้าที่ของรัฐและหน่วยงานอื่นๆในการขับเคลือน "สุขภาพดีไม่มีขายอยากอยากได้ต้องสร้างเอง และร่วมสร้าง" ที่เป็น"การสร้างนำซ่อม" ด้วยสภาพ"การซ่อมนำสร้าง"ที่เกินกำลัง จนปัจจุบัน อสม.คือ นักจัดการสุขภาพชุมชน สิ่งเหล่านี้คือนวัตกรรมทางสังคมที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพของคนมากกว่าการพัฒนาเทคโนโลยี่
21 มีนาคม 2561 วันมหกรรมจิตอาสาภาคใต้ ณ.ศูนย์ประชุมนานาชาติฯ ม.อ นับได้ว่าเป็นนวัตกรรมทางสังคมที่รวมผู้ที่ทำงานจิตอาสาในทุกภาคส่วน มารวมตัวกันเพื่อแลกเปลี่ยนบทเรียนของการทำงาน ทำให้เกิดการเชื่อมเป็นเครือข่ายเพื่อนำไปสู่การสานพลังในการทำเรื่องที่สังคมต้องการ/ร่วมแก้ไขปัญหา/ร่วมพัฒนาศักยภาพคน เพื่อสังคมปัจจุบันและอนาคต มิติหนึ่งของการสร้างการเรียนรู้ของสงขลานครินทร์ที่เป็น ***Social engagement*** ในความคิดเห็นส่วนตัว สิ่งนี้คือ นวัตกรรมทางสังคม ที่เกิดขึ้นเพื่อการก้าวสู่ ทศวรรษที่ 6 ของสงขลานครินทร์ เพื่อเชิดชูศักดิ์ศรี เป็นช่องทางของการสะสมบุญ คุณงามความดี ในการร่วมดูแลสังคมร่วมกับคนในสังคม อีกมิติหนึ่งเพื่อให้สอดคล้องกับบทสรุป "50 ปี ที่หยัดยืน สู่ศตวรรษที่ยั่งยืน"
หากเชื่อมโยงกับเพลงเมื่อครบรอบ 40 ปี ม.อ ถิ่นที่รักเป็นหลักชัย เพลงยุคที่ 4 ที่เราร้องกันคือ "ม.อ ใต้ร่มพระบารมี" ยุคที่ 5 เพลงสืบทอดพระปณิธาน และจะกอดความดีไว้ในใจนิรันดร์ พร้อมไปกับเอกลักษณ์ ที่ต้องการให้เกิดในบัณฑิตคือ I-WiSe ในเวทีจิตอาสาเมื่อวาน ได้เห็นและเรียนรู้จากบุคคลต้นแบบในทุกวัย หลากหลายกลุ่ม ที่อาสาทำงานและนำบทเรียนประวัติชีวิตของตนเองมาเป็นเรื่องเล่าให้เห็น ชีวิต ที่เป็น ความรู้ ความคิด ทักษะในชีวิต และงานที่ทำอย่างเป็นหนึ่งเดียวกัน ทั้งระดับบคคล กลุ่มคนและชุมชน รวมทั้งเวทีรวมและเวทีย่อยตามความสนใจ
จุดเริ่มต้นที่งดงาม คงต้องอาศัยบุคคล/กลุ่มคนที่มีความตั้งมั่น/สืบสานให้เกิดความต่อเนื่องเป็นพลังการพัฒนาคนทุกวัยทั้งที่จะเสริมการศึกษาในระบบและนอกระบบตามอัธยาศัย ให้เกิดเป็นห้องเรียนของการศึกษาตลอดชีวิตร่วมกันได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับความเป็นจริงของสังคม
เมื่อเป้าหมายของการศึกษาคือการพัฒนาความสมบูรณ์ของความเป็นมนุษย์ โดยที่อุดมศึกษามีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาให้คนพึ่งตนเองได้ นั้นคือมีสัมมาชีพ/วิชาชีพ เป็นคนดี ใฝ่รู้ มีทักษะชีวิตที่จะอยู่ร่วมกับคนอื่นอย่างมีความสุขและเป็นที่พึ่งสำหรับคนอื่นๆต่อไป ดังนั้นการพัฒนาสุขภาวะจิตวิญญาณจึงเป็นเป้าหมายหนึ่งของการศึกษาในอุดมศึกษา ซึ่งผู้ที่ทำงานในอุดมศึกษาคือปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริม สนับสนุน อำนวยความสะดวก ให้นักศึกษาได้เรียนรู้ร่วมกันกับสังคมในความเป็นจริงอย่างรู้เท่าทัน ครอบครัว/ชุมชน/สังคม ได้มอบความไว้วางใจให้มหาวิทยาลัยช่วยอบรม สั่งสอน ลูกหลาน ออกไปทำหนาที่ในสังคมทดแทนคนรุ่นต่อไป
พลังนักศึกษาร่วมสร้างสังคมร่วมกับคนในสังคม ชุมชน ครอบครัว
...มาเถิด เชิญเถิดน้องเข้ามา เร่งศึกษาปัญหาสังคมไทย วันเวลามิเคยรอท่าให้เราก้าวไป เร่งเรียนกันไว้ เรียนรู้สิ่งใหม่ในมหา...เอย...
....คุณค่าของความเป็นคน อยู่ที่ตนฝึกฝนไม่ละเลย การงานเร่งประสานให้เคย อย่าเฉยเมย สู่แนวทางสร้างความดี
...การรู้ผิด...ชอบ ชั่ว...ดี บาป...บุญ คุณ...โทษ
บทเรียนที่เราสามารถถ่ายทอด/แลกเปลี่ยน/เรียนรู้ให้กันและกันได้ ผ่านกระบวนการเรียนรู้ด้วยการทำงานร่วมกัน ด้วยความเสมอภาค เคารพกันและกัน อย่างมีศีลธรรมเป็นพื้นฐานเพื่อพัฒนา...ความรู้ด้วยมือของความรักจากปฏิบัติการร่วมกันด้วยมิตรภาพที่ยั่งยืน...เข้าใจ เข้าถึง พึ่งพาอาศัยกันได้ภายใต้การพึ่งตน เกื้อกูลและแบ่งปัน
40 ปี ที่มุ่งมั่น สู่ทศวรรษที่สรรค์สร้าง...
จากวัน อสม.แห่งชาติ ถึง มหกรรมจิตอาสาใน ม.อ ความเป็นหนึ่งเดียว
ผาสุกที่ตน ดูแลคนที่ศรัทธา ด้วยปัญญาและความเพียร
เจริญธรรมค่ะ
ยาดมเอง
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « 100 ปี ธงไตรรงค์
ร่วมแสดงความเห็นในหน้านี้