comment: 3
การประเมินคุณภาพภายในระดับมหาวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา 2551
การประเมินคุณภาพภายในระดับมหาวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา 2551 กำหนดขึ้นระหว่างวันที่ 4-6 ตุลาคม 2552
รายชื่อคณะกรรมการมีดังต่อไปนี้
- ศ.ดร.กิตติชัย วัฒนานิกร ประธานกรรมการ
- รศ.ดร.สมชาย จันทร์ชาวนา กรรมการ
- รศ.ดร.กุลธิดา ท้วมสุข กรรมการ
- รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์ กรรมการ
- รศ.สมชาย วิริยะยุทธกร กรรมการ
- รศ.อิ่มจิต เลิศพงษ์สมบัติ กรรมการ
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « ขอเชิญร่วมงาน โครงการเวทีคุณภาพ ...
- ใหม่กว่า » เวทีคุณภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานคริน...
comment
![]() |
การประเมินคุณภาพ
การประเมินคุณภาพตามมาตรฐานสากลต้องประเมินที่"ผู้นำ" Leadership หรือ Management Responsibility ได้แก่ผู้บริหารสูงสุดขององค์กร (Top Management) ได้แก่ผู้บริหารสถานศึกษา เช่น อธิการบดีหรือคณบดีที่เป็นผู้บริหารสถานศึกษา
การประเมินคุณภาพที่ผู้นำ เช่น คณบดี... มิได้ประเมินที่ตัวบุคคลว่ามีความหล่อความสวยหรือแม้กระทั่งระดับคุณวุฒิการศึกษา..แต่ประเมินที่"ระบบ"ว่าออกแบบ(System design)ได้ดีแค่ไหน มีเกณฑ์มาตรฐานอะไรบ้างเมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่ดีที่สุด(Benchmarking Best Practices)
เกณฑ์มาตรฐานการศึกษาที่ดีที่สุดที่นานาชาติรับรองได้แก่มาตรฐานบอลริจ Balrige Criteria ที่เรียกว่า
"Education Criteria for Performance Excellence."
ประกอบด้วย Leadership เป็นผู้ผลักดันหรือบริหาร"ระบบ"ต่างๆ เช่น ระบบแผนยุทธศาสตร์(Strategic Planning) ระบบกระบวนวิธีปฏิบัติงาน(Process Management) ระบบบริหารคน(Workforce Focus)
มีการประเมินวัด วิเตราะห์ และใช้การจัดการความรู้เพื่อปรับปรุงคุณภาพ(Measurement, Analysis, and Knowledge Management)...โดยวัด, วิเคราะห์ หรือประเมินที่ระบบทั้ง 3 ข้างต้นรวมทั้งประเมินคุณภาพการบริหารระบบต่างๆของตัว Leadership ด้วย และประเมินความพอใจของลูกค้า(Customer Focus) และประเมินผลการดำเนินงานทั้งหมด(Results)ด้วย
![]() |
การประเมินคุณภาพที่ผู้นำ Leadership เช่น อธิการบดี หรือ คณบดี
การประเมินคุณภาพตามมาตรฐานสากลประเมินที่ผู้นำองค์กร(Leadership) ได้แก่ผู้บริหารสูงสุดขององค์กร(Top Management) เช่น ผู้บริหารสถานศึกษา อธิการบดี หรือ คณบดี โดยประเมินที่"ระบบ"ที่ผู้นำใช้บริหาร
ระบบที่ใช้บริหารองค์กร คือ "ระบบวิธีปฏิบัติที่ใช้ในการบริหาร" Set of management practices...ระบบตัวนี้นี่แหละคือหัวใจในการบริหารคุณภาพ Quality Management สมัยใหม่ของโลกที่เรียกชื่อหลากหลาย
- เป็นหัวใจของการบริหารตามมาตรฐานสากล ISO 9000 ดังนั้น ระบบดังกล่าวจึงเป็นหัวใจของการปฏิรูปการศึกษา ตาม พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 หมวด 6 มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา มาตรา 47 กำหนดให้มี"ระบบ"การประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ ประกอบด้วยระบบการประกันคุณภาพภายในและระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายนอก
ทั้งนี้ เนื่องจากกฏหมายการศึกษาแห่งชาติดังกล่าวยึดมาตรฐานสากลเป็นหลัก
- เป็นหัวใจของการบริหารคุณภาพ TQM.(Total Quality Management).
- เป็นหัวใจของการบริหารการบริหารการศึกษาตามมาตรฐานบอลริจ Baldrige Criteria ที่เรียกว่า Education Criteria for Performance Excellence.
ฯลฯ
ระบบที่เป็นหัวใจของการบริหารข้างต้นออกมาในรูประบบเอกสาร(Documented Procedures) เช่น Work Instruction, SOP:Standard Operating Procedures หรือ คู่มือ (Manual)
การบริหารของ Leadership เช่น ผู้บริหารสถานศึกษา, อธิการบดี หรือ คณบดี จึงไม่ยาก เพียงบริหารที่คู่มือเท่านั้น..ที่ออกจะยากสักหน่อย คือ การออกแบบระบบ(System design)หรือ ออกแบบคู่มือ เพราะต้องออกแบบระบบแสดงลักษณะงานหรือวิธีการปฏิบัติงานที่มีความช้ดเจน กระทัดรัด ถูกต้อง ทันสมัย แก้ไขได้ ปรับปรุงได้ และที่สำคัญต้องง่ายต่อความเข้าใจ...โดย Tom Peters บอกให้จำคำว่า KISS (Keep it simple, stupid)
การสร้างระบบอย่างง่ายๆเป็นอุทาหรณ์ชี้ให้เห็นว่า การทำเรื่องง่ายให้เป็นเรื่องยากไม่ฉลาด เช่น การประเมินคุณภาพ(ภายนอก)เมื่อมีระบบทำให้ง่ายได้ หรือ การดำเนินการตาม TQF สามารถใช้ระบบคู่มือช่วยทำให้ง่ายได้เช่นเดียวกัน..โดยไม่ทำให้อาจารย์ต้องมาเสียเวลาทำเอกสารให้ยุ่งยาก ในเมื่อผู้รับผิดชอบ TQF น่าจะเป็น Leadership หรือผู้บริหารสูงสุด Top Management ขององค์กร
ระบบสำคัญยิ่งในการบริหารของ Leadership มี 3 ระบบ
1. ระบบแผนยุทธศาสตร์ (Strategic Planning Manual)
2. ระบบกระบวนวิธีทำงาน(Process Management) ซึ่งคู่มือลักษณะงาน Job Standard Manual ช่วยให้รู้ลักษณะงานของตำแหน่งต่างๆ
3. คู่มือบริหารคน(Workforce Manual) การบริหารบุคลากรต้องทำเป็นระบบ
(ข้าพเจ้าจะส่งตัวอย่างระบบหรือคู่มือเท่าที่หาได้เป็นภาษาอังกฤษมาที่สำนักงานแผน และ สำนักงาน QA. เพื่อพิจารณานำไปประยุกต์ใช้ต่อไป)
การประเมินคุณภาพภายใน(หรือภายนอก)
เมื่อ Leadership มีระบบคู่มือดังกล่าวใช้บริหารทั้ง 3 ระบบ การบริหารองค์กรก็เป็นไปตามระบบ..ทำให้การบริหารมีคุณภาพตามมาตรฐานสากลและมีประสิทธิภาพสมบูรณ์ตาม Deming 85/15 rule คือการบริหารไม่ผิดบกพร่อง 85% เพราะมีระบบรองรับ
การประเมินคุณภาพภายในและภายนอกก็ทำได้ง่ายไม่มีอะไรน่าวิตก เพราะผู้ประเมินต้องใช้ระบบคู่มือดังกล่าวเป็นพื้นฐานสำคัญในการประเมิน..จะมาวางมาดให้ดูน่ากลัวมิได้อีกต่อไป
การให้คะแนนก็ต้องเปิดเผยและยุติธรรมทั้ง 2 ฝ่าย เช่น ทั้งสองฝ่ายตกลงให้ใช้ Likert scale เป็นต้น
หมายเหตุ: วิธีการข้างต้นทันสมัยชั้นนำในระดับสากลที่ข้าพเจ้าคิดว่า ที่ยุโรป โดยเฉพาะประเทศอังกฤษยังตามไม่ทัน สังเกตที่ TC-176 ที่มีอังกฤษเป็นประธานยังไม่สามารถก้าวลึกเรื่อง Quality Management ได้เท่านี้ การบริหารด้วยระบบจะนำให้ ม.อ. ติดอันดับ 1 ใน 50 ของ Webometrics ได้ไม่ยาก...โดยข้าพเจ้าเชื่อว่าจะติด Top-Ten ได้ไม่นานเกินรอ
05 ตุลาคม 2552 11:55
#49034
ข้าพเจ้าเป็นคนนอก แต่มองเห็นความยิ่งใหญ่ของ ม.อ.ในด้าน Education Publication Technology จึงขอมีส่วนร่วมแสดงความเห็นเรื่องการประเมินคุณภาพ
1. มาตรฐานในการประเมินคุณภาพ
พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ 2542 และ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม 2545 กำหนดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในและระบบการประกันคุณภาพภายนอก
"ระบบ" จึงเป็นมาตรฐานในการประกันคุณภาพทั้งภายในและภายนอก ดังนั้น มาตรฐานในการประเมินคุณภาพการศึกษาทั้งภายในและภายนอกก็คือ"ระบบ"นั่นเอง ซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐานสากล ISO 9000
ข้อสังเกต: ข้าพเจ้าสังเกตเห็นมหาวิทยาลัยที่ข้าพเจ้ารักเพราะเป็นนิสิตเก่า(ไม่ใช่ ม.อ.)สับสนในเรื่องนี้ โดยตั้งมาตรฐานการประเมินตามความรู้(สึก)ของตนเอง เช่น ให้มี วิธีการปฏิบัติที่ดี ประกอบด้วยองค์ประกอบ 9 ข้อ เช่น องค์ประกอบที่ 1 ปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์ และแผนดำเนินการ และองค์ประกอบอื่นๆอีก 8 องค์ประกอบ ซึ่งมิใช่ "ระบบ" จึงใช้ในการประเมินคุณภาพการศึกษามิได้ พวกนี้กำลังทำลายคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยที่ข้าพเจ้าเทิดทูน
ความสับสนของผู้ตั้ง"วิธีการปฏิบัติที่ดี"ดังกล่าวเห็นได้ชัดเจนที่ขาดองค์ประกอบ"ผู้นำ" Leadership
การตั้งมาตรฐานวิธีการปฏิบัติที่ดี ของมหาวิทยาลัยดังกล่าวชี้ให้เห็นขาดความรู้ในการประเมินตามมาตรฐานสากลที่ประเมินที่ผู้นำ(Leadership)ได้แก่ผู้บริหารสูงสุดขององค์กร(Top Management)ซึ่ง มาตรฐานสากลเรียกว่า Management Resposibility ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา(มิใช่ไปประเมินที่อาจารย์หรือนักศึกษา)
2. การประเมินภายนอก
"ระบบ"เป็นมาตรฐานในการประกันคุณภาพการศึกษาภายนอกด้วย ซึ่งต้องประเมินที่ Leadership หรือ Top Management เช่นเดียวกัน แตกต่างกันที่ตัวองค์กรผู้ประเมินเท่านั้นที่เรียกว่า External Accreditation Body
เช่น สมศ. เป็นองค์กรรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(ภายนอก) อย่างไรก็ตาม การประเมินขององค์กรนี้ยังมีความสับสนที่ไม่ได้มาตรฐานสากล เพราะเกณฑ์การประเมินทั้ง 7 ข้อของ สมศ.ที่ไม่เป็น"ระบบ" จุดอ่อนคือเกณฑ์ของ สมศ.ขาด Leadership ...การประเมินจึงไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของมาตรฐานสากลและ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ รวมทั้งมาตรฐาน Baldrige Criteria ที่ทั่วโลกรับรอง