ความเห็น: 1
ประยุกต์ใช้เครื่อง Spectrophotometer วัดแผ่นฟิล์ม (2)
ช่วงนี้เขียนบันทึกตามใจตัวเองเยอะไปหน่อย ขอวกกลับมาบันทึกเรื่องงานซึ่งเป็นบันทึกที่ทุกท่านรอคอยบ้าง (มั้ย) เราไม่กลัว แม้จะเงียบเหงาทุกครั้งที่เขียนบันทึกแนวนี้ อิอิ
ท้าวความไปบันทึกที่แล้วในตอนที่ 1 ว่าตนเองได้รับฟังปัญหาจากนักศึกษาชาวเวียดนาม เรื่องการกรองแสงด้วยแผ่นฟิล์มใสสีต่างๆ ซึ่งนักศึกษาคนนี้ได้ทดลองพรางแสงแดดผ่านฟิล์มแต่ละชนิดเพื่อเลี้ยงสาหร่าย และได้แสดงผลทดลองวัดแผ่นพลาสติกใสไปแล้วเมื่อบันทึกที่แล้ว
บันทึกนี้จึงมาแสดงผลการวัดแผ่นฟิล์มสีอื่นๆ ว่ามีพฤติกรรมการดูดกลืนแสง (Absorption) เหมือนหรือแตกต่างกันหรือไม่ และมีย่านที่ดูดกลืนแสงเท่ากันบ้างหรือป่าว
แต่ก่อนจะไปดูภาพ ขอทวนลำดับสีรุ้งที่เราเคยท่องกันสมัยเด็กๆ ก่อน ว่าจำกันได้มั้ยเอ่ย..
ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง
และนี่คือลักษณะแผ่นฟิล์มที่เราทดลองกันครับ
ซึ่งฟิล์มแต่ละสีให้ค่า Abs จากเครื่อง Spectrophotometer ดังนี้
ฟิล์มสีแดง
จะเห็นว่ามีค่า Transmittance ช่วงสูงกว่า 600 nm โดยสูงสุดช่วงใกล้ 800 nm เพราะเป็นช่วงแสงสีแดง
ฟิล์มสีเขียว
มีค่า Transmittance สูงสุดช่วง 550 nm คือช่วงสีเขียวนั่นเอง
ฟิล์มสีน้ำเงิน
มีค่า Transmittance แถวๆ 450 nm คือช่วงสีน้ำเงินครับ
ฟิล์มใส (อีกครั้ง)
เห็นชัดว่าแทบไม่ดูดกลืนแสงช่วง Visible เลย
ทั้งนี้ แสงช่วงแปดเก้าร้อยขึ้นไปจะเริ่มเป็นแสง Infared แล้ว ซึ่งสามารถทะลุผ่านแผ่นฟิล์มได้ทุกชนิด จึงมีค่า Transmittance สูงขึ้นตามลำดับ
ผลการทดลองนี้ถูกนำไปขยายผลต่อในการสรุปเข้ากับผลการเลี้ยงสาหร่ายในบ่อวิจัยของนักศึกษาด้วย ซึ่งการใช้ฟิล์มหรือสแลนที่มีสีแตกต่างในการพรางแสงนั้นมีผลต่อการเลี้ยงสาหร่ายด้วยครับ
ให้ลองทายเล่นๆ ดูว่า ฟิล์มสีไหนที่ส่าหร่ายเจริญเติบโตได้ดีที่สุดครับ ใครทายถูกรับบัตรทานอาหารมื้อค่ำฟรีที่ครัวคุณท้าวฯ นะครับ รางวัลนี้หายากมากเลย อิอิ
เอิ้ก เอิ้ก
"ใจสั่งมา"
Other Posts By This Blogger
- Older « ถ้าเจอสิ่งนี้...ถือว่ามาถูกทาง [...
- Newer » โดนทักว่าเดินช้า
22 มกราคม 2558 09:38
#101472
มาเดาก่อนว่าแสงสีน้ำเงินครับ