บันทึกนี้ เปิดประเด็นได้ร้อนแรงในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้จริง ๆ
ประเด็น"ผลประโยชน์" มันก็เป็นเช่นนี้แหล่ะครับ
สิ่งที่ประชาคมมีความแตกต่างกันคือ "เรามีฐานข้อมูลและฐานความคิด" ที่ไม่เท่ากันและแตกต่างกัน
ที่คือประเด็นที่"องค์กรสมัยใหม่" จะต้องตระหนัก และทำการสื่อสารให้ชัดเจนมากขึ้น
เป็น"ภาระ" ที่นักบริหารรุ่นใหม่จะต้องเผชิญ
ผมอยู่ในกลุ่ม "ผู้ใกล้เกษียณอายุ" และอยู่ในกลุ่มผู้มีข้อมูลค่อนข้างมาก
คณะวิศวฯ มีการเงินที่ติดลบมาหลายปีแล้ว และเพิ่มพูนขึ้นเรื่อย ๆ จนมากกว่า 20 ล้านบาทในปัจจุบัน
กองทุนวิจัยติดลบต่อเนื่องมาหลายปี (ผมเป็นกรรมการกองทุน) และปีนี้ได้พยายามลดรายจ่ายลง แต่ก็ยังเป็นรายจ่ายที่เกินรายรับ เนื่องจากภาระผูกพัน ตามนโยบายของมหาวิทยาลัย ที่ต้องแชร์เงินในสัดส่วน 50/50
การเพิ่มรายได้ มีการพูดคุยกันแล้ว แต่ขอให้ช่วยเสนอแนวทางด้วย มีการเสนอให้เก็บค่าธรรมเนียมการวิจัยจากแหล่งเงินภายนอก เพื่อมาสนับสนุนแก่นักวิจัยหน้าใหม่ ที่คณะจะต้องฟูมฟักต่อไป เพื่อเพิ่มรายได้อีกทางหนึ่ง แต่นักวิจัยอาวุโสต้องยอมเสียสละและเข้าใจโดยตั้งงบวิจัยให้สูงขึ้น
การเพิ่มรายได้ด้วยการเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษเพิ่มขึ้น อาจทำได้ในบางภาควิชาฯ เพราะเป็นการเพิ่มภาระให้นักศึกษา และต้องเปรียนเทียบกับสถาบันอื่น ๆ ด้วย
การหาเงินจากบริการวิชาการนั้น ยังเป็นรายรับที่ไม่มั่นคง มีมากมีน้อยในแต่ละปี
การลดรายจ่ายนั้น ผมได้แสดงความเห็นไปแล้ว ว่าผู้บริหารต้องทำให้เห็นชัดเจนว่า ผู้บริหารก็ต้องใช้เงินอย่างมีเหตุผล บริหารบนฐาน"ข้อมูล" มากกว่า "ความรู้สึก" ซึ่งเป็นสิ่งที่เราทำมาในอดีต
ในเรื่องการลดรายได้บุคลากรนั้น ผู้บริหารคงตระหนักดีแล้วว่าไม่ควรจะทำแน่นอน เพราะสูญเสียความนิยม
แต่ผมก็เข้าใจดีว่า คงต้องแลกเอาระหว่าง "ประชานิยม" หรือ "ความถูกต้องที่ควรจะเป็นในยุคนี้"
เราต้องสร้างระบบเพื่อ"อนาคต"ด้วย ประเด็นความเสียสละเพื่อส่วนรวมคงเหลือน้อยแล้วละครับ ระบบที่มีผู้อยากทำงานในส่วนกลาง ที่ต้องพร้อมรับเสียง"ตำหนิ"จากประชาคม
บันทึกนี้ผม"ชอบ" มาก
การแลกเปลี่ยนความเห็นอย่าง"เปิดเผย" ดีกว่า การซุบซิบ"นินทา"แล้ว slow down การทำงานลง
เราจะได้เห็นแนวคิดของประชาคมในคณะวิศวฯของเรา
คณะวิศวฯ ไม่ได้ประกอบด้วยคณาจารย์เพียงส่วนเดียว แต่มีบุคลากรฝ่ายสนับสนุนอีกจำนวนมาก เราเคยทราบความรู้สึกของเขาเหล่านั้นบ้างหรือไม่
การลดเงินสนับสนุน 4000 บาท ลงนั้น ก็น่าจะเป็นไปตามสภาพการเงินของคณะฯและบุคลากร คนมีเงินเดือนน้อยก็คงได้รับการสนับสนุนอยู่ ไล่ไปตามลำดับ หรือจะเอาเป็นว่าใครรับเงินมานานแล้วก็คงจะได้เหมือนกัน
การเปิดเผยข้อมูลเรื่องค่าสอนพิเศษ ก็คงทำได้ หากประชาคมต้องการ ซึ่งภาควิชาฯคงต้องตอบคำถามในบางประเด็นต่อไป
ในบางแนวคิดนั้น ระบบที่ยุติธรรมคือระบบที่ได้รายรับ ตามงานที่ทำ คือทำมาก ได้มาก และไม่แสวงหาเงินจากงานที่ง่ายๆ เพียงอย่างเดียว เช่นงานสอน เพราะเกิดการพัฒนาน้อย ควรทำงานวิจัยเพื่อเพิ่มศักยภาพตัวเองและมีค่าตอบแทนด้วยเป็นต้น
ขอแสดงความรู้สึก "ขอบคุณ" รองอธิการฯ และอดีตคณบดีวิศวฯ อ.ชูศักดิ์ ที่ยังติดตามข้อมูลคณะวิศวฯอยู่เสมอ